สรุปหนังสือ The Checklist Manifesto บอกลาคำว่า “พลาด” แค่ใช้เช็คลิสต์

the checklist manifesto open

“ปัญหายุ่งยากที่เราเจอในทุกวันนี้สามารถแก้ไขได้ง่ายๆ ด้วยเช็คลิสต์ที่เรียบง่ายแต่ทรงพลัง”   อาทูล กาแวนด์ ผู้เขียนหนังสือ The Checklist Manifesto

The Checklist Manifesto เป็นหนังสือที่ถูกตีพิมพ์ตั้งแต่ปี 2009 โดยฝีมือการเขียนของอาทูล กาแวนด์ ศัลยแพทย์สมองชาวอเมริกัน หนังสือเล่มนี้เขียนเกี่ยวกับเช็คลิสต์ ลิสต์รายการที่หลายคนอาจปรามาสว่า “ใครจะมานั่งเช็คลิสต์โง่ๆ พวกนี้ให้เสียเวลา” แต่มันกลับเป็นเครื่องมืออันทรงพลังที่จะช่วยลดความผิดพลาดในงานของคุณได้อย่างเหลือเชื่อ

ทำไมเราถึงทำงานพลาดน้อยลงเมื่อใช้เช็คลิสต์? เช็คลิสต์ที่ดีควรเป็นอย่างไร? เรามาหาคำตอบนี้ไปพร้อมกันเลยครับ

 

รวมข้อคิดดีๆ จากหนังสือ The Checklist Manifesto

  • บางครั้งวิธีแก้ปัญหาที่ง่ายที่สุดก็คือการย้อนกลับสู่สามัญ คุณไม่จำเป็นต้องคิดวิธีใหม่ๆ อะไรทั้งนั้น แค่ย้อนกลับสู่พื้นฐานด้วยการทำเช็คลิสต์ แล้วคุณจะเจอปัญหาต่างๆ ลดน้อยลง
  • เช็คลิสต์จะช่วยให้คุณรักษามาตรฐานในการทำงานได้เสมอ

 

the checklist manifesto 01
การทำงานในห้องผ่าตัดจะมีข้อผิดพลาดไม่ได้เด็ดขาด เพราะมันจะส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยทันที

ความผิดพลาดแบบตายน้ำตื้น

ณ กลางดึกของวันแห่งความสนุกสนานที่ผู้คนต่างร่วมตัวสังสรรค์ในงานปาร์ตี้ฮาโลวีน จู่ๆ ก็เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้นเมื่อมีชายร่างใหญ่คนหนึ่งได้รับบาดเจ็บถูกส่งตัวมายังโรงพยาบาลพร้อมกับอาการมึนเมาเล็กน้อย หมอและพยาบาลตรวจอาการเบื้องต้นแล้วพบว่าเคสนี้ไม่ฉุกเฉินนัก ชายคนนี้มีเพียงแผลถูกแทงเล็กๆ เท่านั้น

หลังจากรอสักพักก็ถึงคิวรักษาของชายคนนี้ แต่พอหมอเริ่มลงมือรักษา อาการของชายคนนี้กลับหนักหนากว่าที่ทุกคนคาดไว้!

เลือดของเขาพุ่งกระจายไปทั่วกลายเป็นภาพสยดสยองของคนที่พบเห็น ทุกคนที่เกี่ยวข้องต้องพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อช่วยชีวิตชายคนนี้อย่างเร่งด่วน แล้วทุกคนก็ทำสำเร็จ

คำถามที่เกิดขึ้นก็คือ “ทำไมหมอและพยาบาลถึงลงความเห็นกันตั้งแต่แรกว่าเคสนี้ไม่ฉุกเฉิน ชายคนนี้มีเพียงแผลถูกแทงเล็กๆ ไม่ใช่เหรอ?”

หมอและพยาบาลทำตามขั้นตอนทุกอย่าง พวกเขาตัดเสื้อผ้าของชายคนนี้ออกและตรวจดูบาดแผล แต่มันก็เป็นแค่บาดแผลเล็กๆ พวกเขาจึงลงความเห็นว่า “ไม่ฉุกเฉิน” แต่สิ่งเดียวที่พวกเขาไม่ได้ทำและมองข้ามไปก็คือ ไม่มีใครถามชายคนนี้เลยว่า “เขาโดนอะไรมา?”

ชายคนนี้ไปร่วมงานปาร์ตี้ฮาโลวีนกับเพื่อนๆ พวกเขานัดแต่งตัวกันแบบแฟนซีมาร่วมงาน แต่แล้วกลับเกิดอุบัติเหตุขึ้น เขาโดนดาบปลายปืนของเพื่อนที่แต่งแฟนซีชุดทหารแทง! ดาบปลายปืนนั้นยาวมากแถมยังเป็นอาวุธที่สร้างบาดแผลได้อย่างน่าทึ่งในสนามรบ ถ้าหมอหรือพยาบาลรู้ว่าเขาโดนดาบปลายปืนแทง เหตุการณ์อาจไม่โกลาหลเท่านี้

เหตุการณ์นี้เองที่อาทูลเรียกว่า “ตายน้ำตื้น” บุคลากรทุกคนต่างทำหน้าที่ของตัวเองได้ดีเยี่ยม ทุกคนมีความรู้และความสามารถในวิชาชีพของตัวเอง แต่สุดท้ายพวกเขากลับพลาดง่ายๆ แค่ลืมถามคนป่วยว่า “โดนอะไรมา”

 

 

บอกลาคำว่า “พลาด” แค่ใช้เช็คลิสต์

อาทูลพบว่าถ้าเราอยากลดข้อผิดพลาดให้น้อยลง แทนที่จะมาละลายเงินเป็นล้านกับการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ อาทูลกลับบอกว่าวิธีลดข้อผิดพลาดนั้นง่ายมาก แค่หันกลับมาใช้เช็คลิสต์ง่ายๆ ก็พอ หลายคนอาจจะมองข้ามเช็คลิสต์ที่ดูเชยๆ เฉิ่มๆ พวกนี้ แต่อาทูลกลับมองว่ามันคือเครื่องมือตรวจสอบการทำงานที่ทรงพลังและมีประสิทธิภาพมาก

ครั้งหนึ่งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ เคยทำการทดลองเพื่อหาวิธีลดจำนวนคนไข้ที่ติดเชื้อหลังการผ่าตัดลง ขั้นตอนแรกพวกเขาจะให้พยาบาลคอยตรวจสอบดูว่าศัลยแพทย์ที่กำลังจะผ่าตัดได้ปฏิบัติตัวตามเช็คลิสต์ครบถ้วนหรือไม่ เช่น ล้างมือให้สะอาด ทำความสะอาดผิวผู้ป่วยด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง เป็นต้น ผลที่ได้ก็คือศัลยแพทย์ 1 ใน 3 คนจะข้ามขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งไป ทั้งๆ ที่เช็คลิสต์นี้เป็นสิ่งที่แพทย์ทุกคนแทบจะท่องจำจนขึ้นใจตั้งแต่วันแรกที่พวกเขาเริ่มเรียนเลยทีเดียว

จากนั้นการทดลองขั้นต่อไปก็เริ่มขึ้น ทางคณะจะให้พยาบาลหยุดดำเนินการต่อถ้าศัลยแพทย์ที่กำลังจะผ่าตัดข้ามขั้นตอนตามเช็คลิสต์ไป เมื่อศัลยแพทย์ทำตามเช็คลิสต์ครบถ้วนเมื่อไหร่ การผ่าตัดถึงดำเนินต่อไปได้ ผลการทดลองที่ได้นั้นน่าทึ่งมาก หลังจากศัลยแพทย์ต้องปฏิบัติตัวตามเช็คลิสต์ให้ครบถ้วนก็พบว่าจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อลดลงเรื่อยๆ จนแทบจะเป็นศูนย์ แต่นอกจากผู้ป่วยจะน้อยลงแล้ว เมื่อลองคำนวณค่าใช้จ่ายที่ประหยัดลงไปนั้นมีจำนวนมากถึง 2 ล้านดอลลาร์ด้วยกัน!

อีกหนึ่งตัวอย่างการใช้เช็คลิสต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพก็คือ ธุรกิจการบิน

คู่มือนักบินสำหรับใช้เครื่องบินโบอิ้งแต่ละลำมีความยาวมากกว่า 200 หน้า และมีเช็คลิสต์มากมาย เช่น รายการปกติอย่างขั้นตอนตรวจสอบเครื่องยนต์ก่อนออกตัวไปยังรันเวย์ ไปจนถึงรายการฉุกเฉินซึ่งจะครอบคลุมทุกเหตุการณ์ให้มากที่สุดเท่าที่นักบินหนึ่งคนอาจจะพบเจอได้ นอกจากนี้เช็คลิสต์ยังมีการอัพเดทและแก้ไขอยู่เรื่อยๆ อีกด้วย

ชีวิตและความปลอดภัยเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ไม่มีใครอยากให้เกิดข้อผิดพลาด แม้จะเพียงเล็กน้อยก็ตาม อาทูลชี้ให้เห็นว่าทั้งแพทย์และนักบินซึ่งต้องรับผิดชอบชีวิตของผู้คนมากมายต่างหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดต่างๆ ได้ด้วย “เช็คลิสต์” นี่เอง

 

the checklist manifesto 02

ปรับใช้เช็คลิสต์ให้หลากหลาย

เช็คลิสต์ไม่ใช่เครื่องมือสำหรับคนที่ทำงานคาบเกี่ยวกับชีวิตและความปลอดภัยอย่างแพทย์หรือนักบินเท่านั้น มันยังสามารถปรับใช้กับการทำงานในแวดวงต่างๆ ได้อย่างหลากหลายอีกด้วย

เชฟโจดี้ อดัมส์ เป็นเจ้าของภัตตาคารชื่อดังอย่าง “ริอัลโต” เธอนำเช็คลิสต์มาปรับใช้กับการทำงานในครัวและนำมาปรับใช้กับพนักงานทุกคนในร้านอาหาร เพื่อตรวจสอบให้มั่นใจว่าอาหารแต่ละจานที่จะออกเสิร์ฟให้กับลูกค้าจะต้องสมบูรณ์แบบที่สุด

เชฟโจดี้ไม่เพียงแต่ใช้สูตรอาหารเป็นตัวกำกับเพียงอย่างเดียว เธอจะใช้เช็คลิสต์เพื่อบอกด้วยว่าเชฟแต่ละคนควรทำอะไรและเมื่อใด แถมก่อนการเสิร์ฟอาหารทุกครั้งจะต้องมีเช็คสิลต์เพื่อตรวจสอบขั้นสุดท้ายด้วยว่า อาหารจานนี้ตรงตามมาตรฐานของเชฟโจดี้หรือไม่ ด้วยวิธีทำงานนี้เองทำให้ร้านริอัลโตแห่งนี้เป็นที่ถูกอกถูกใจของลูกค้า และตัวเชฟโจดี้เองก็ได้รับรางวัลต่างๆ มากมาย

 

เช็คลิสต์ที่ดีควรเป็นอย่างไร?

  • เช็คลิสต์ที่ดีจะต้องรวมทุกรายการที่จำเป็น เขียนให้สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้ และอย่าสร้างความเข้าใจผิดใดๆ ทั้งสิ้น
  • แดเนียล บอร์แมน อดีตนักบินทหารผ่านศึกที่เคยทำเช็คลิสต์สำหรับตรวจสอบเครื่องบินโบอิ้งบอกว่าในแต่ละหัวข้อควรมีลิสต์รายการประมาณ 5-9 รายการจะเหมาะสมที่สุด นอกจากนี้ในการทำเช็คลิสต์จะต้องใช้เวลาไม่มาก เพราะถ้ามันกินเวลานาน คนที่ใช้ก็อาจเมินเฉยต่อมันได้
  • ควรมีพื้นที่สำหรับระบุให้ชัดเจนว่าลิสต์รายการไหนทำเสร็จไปแล้วหรือยืนยันเรียบร้อยแล้ว เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสน
  • คุณสามารถใช้ภาษาที่คุ้นเคยกันในทีมได้อย่างเต็มที่

 

สรุปข้อคิดดีๆ จากหนังสือ The Checklist Manifesto

หนังสือเล่มนี้นอกจากจะแนะนำให้คุณลดความผิดพลาดในการทำงานด้วยการใช้เช็คลิสต์แล้ว เช็คลิสต์ยังมีศักยภาพมากกว่านั้น อาทูลบอกว่าเช็คลิสต์เป็นเครื่องมือชั้นเลิศสำหรับการสื่อสารกันในทีม เช็คลิสต์ที่ถูกออกแบบมาอย่างดีเมื่อถูกแจกจ่ายให้กับทีมงานในส่วนต่างๆ จะช่วยกำกับการทำงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันได้เป็นอย่างดี

อาทูลยกตัวอย่างการสร้างตึกซึ่งต้องอาศัยคนทำงานหลายส่วนมาก เช็คสิสต์จะเป็นเหมือนการสื่อสารจากส่วนหนึ่งไปยังอีกส่วนหนึ่งว่างานคืบหน้าไปอย่างไร หรือต้องทำงานอะไรก่อนหลังบ้าง เพื่อเป้าหมายสำคัญที่สุดก็คือ ตึกที่ปลอดภัย ได้มาตรฐาน และตรงกับการออกแบบมากที่สุดนั่นเอง

สุดท้ายนี้นอกจากเราจะแนะนำให้คุณลองอ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว แจ็ค ดอร์ซี่ ผู้ก่อตั้งและ CEO ของ Twitter ยังเป็นอีกคนที่แนะนำให้คุณได้อ่านกันด้วย โดยแจ็คให้เหตุผลว่าทุกคนต้องเจออุปสรรคในการทำงาน ซึ่งเช็คลิสต์คืออีกหนึ่งไอเดียที่จะช่วยทุกคนได้

คุณหมออาทูลยังมีผลงานเขียนอีกหลายเล่มที่น่าสนใจ ถ้าคุณสนใจเล่มไหนลองเลือกหาอ่านกันได้ที่เว็บไซต์ส่วนตัวของเขาได้เลยครับ

แนะนำหนังสือน่าสนใจไม่แพ้ The Checklist Manifesto

ถ้าคุณคิดว่าเรียนจบปริญญาตรีอายุ 22 แล้วคุณไม่ต้องเรียนรู้อะไรอีก คุณอาจไม่เหมาะกับหนังสือเล่มนี้

แต่ถ้าคุณคิดว่าคนเราต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต หนังสือ เรียนอะไรก็รู้เรื่อง แค่สรุปได้ใน 20 คำ จะสอนให้คุณเรียนรู้ได้เร็วขึ้น 10 เท่า และจำสิ่งที่อ่านหรือฟังได้อย่างแม่นยำ คุณจะได้เทคนิคดีๆ ในการสรุปทุกสิ่งที่คุณเรียนรู้ อ่าน หรือฟังใน 20 คำ เทคนิคนี้เริ่มต้นใช้กันในโตโยต้า และคนเขียนนำมาพัฒนาต่อจนโด่งดังในญี่ปุ่น

คนส่วนใหญ่ชอบศึกษาหาข้อมูล วางแผนให้ดีก่อนลงมือทำ …แต่นั่นทำให้พวกเขาไม่พร้อมสักที จนไม่ได้ทำอะไรเลย!

ในหนังสือคนชนะทำแล้วแก้ คนแพ้มัวแต่คิดไม่ได้ทำ เขาจะสอนเทคนิค “ทำไปก่อนเดี๋ยวดีเอง” ให้คุณสร้างผลงานที่ยอดเยี่ยมขึ้น จำนวนมากขึ้น ในเวลาที่สั้นลง

ทั้งเรียนหนังสือ ทำงาน บริหารเงิน สร้างคอนเน็คชั่น และนำเสนอตัวเอง คุณสามารถนำแนวทางนี้มาใช้พัฒนาชีวิตในทุกแง่มุม

นอกจากเช็คลิสต์จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้แล้ว ทักษะการนำเสนอก็เป็นอีกทักษะที่คนทำงานทุกคนควรเรียนรู้ สำนักพิมพ์บิงโกขอแนะนำหนังสือ “คิดเป็นภาพ เปลี่ยนเรื่องยากให้ง่ายใน 1 นาที” หนังสือแปลเรื่องเยี่ยมจากฝีมือของนักออกแบบอินโฟกราฟิกมือหนึ่งแห่งญี่ปุ่น ซึ่งจะสอนเทคนิคแปลเรื่องราวต่างๆ ให้อยู่ในแผนภาพเพียง 1 รูปเท่านั้น!

อ่านบทความพัฒนาตัวเอง

  • บิงโกได้แนะนำเทคนิคดีๆ เกี่ยวกับการทำงานให้กับคุณก็คือสรุปหนังสือ Eat That Frog ผลงานจากไบรอัน เทรซี่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารและจัดการเวลา ซึ่งจะมาแนะนำกฎง่ายๆ เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานของคุณให้ดีอย่างน่าอัศจรรย์
  • นอกจากนี้ ทีมงานบิงโกขอแนะนำ Deep Work หนังสือที่จะแนะนำวิธีทำงานให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งผู้เขียนอย่างคาล นิวพอร์ทได้ใช้จนประสบความสำเร็จมาแล้ว

1 thoughts on “สรุปหนังสือ The Checklist Manifesto บอกลาคำว่า “พลาด” แค่ใช้เช็คลิสต์

  1. Anukoon Kaewborisutsakul says:

    ทางสนพ. มีโครงการแปลเล่มนี้ รวมถึงเล่ม Better ของผู้เขียนท่านนี้มั้ยครับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก