คิดยังไง ให้ได้อย่าง Elon Musk

ถึงวินาทีนี้คงไม่มีใครไม่รู้จักอีลอน มัสก์ (Elon Musk) ด้วยชื่อเสียงจากแทบทุกวงการ ไม่ว่าจะเป็นต้นแบบ Iron Man (อีลอนไปปรากฏตัวในภาพยนตร์ Iron Man 2 ด้วย) มหาเศรษฐี เจ้าพ่อแบงกิ้งออนไลน์ (PayPal) เจ้าพ่อรถยนต์พลังงานทางเลือก (Tesla) เจ้าพ่อวิศวกรรม (SpaceX) เจ้าพ่อแห่งมีม นอกจากนี้ อีลอนยังขยายไปในอีกหลากหลายสาขาวิชา ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้าง (The Boring Company) พลังงานแสงอาทิตย์ (SolarCity) และอื่นๆ นับกันไม่หวาดไม่ไหวเลยทีเดียวเชียว

ในขณะที่เราๆ แค่ทำงานในมือให้เสร็จก็เหนื่อยสายตัวแทบขาด แต่อีลอนทำทั้งหมดนี้สำเร็จภายในอายุเพียง 40 หย่อนๆ เขาทำได้ยังไงกันนะ?

 

How to Think Like Elon Musk
Elon Musk (1971-ปัจจุบัน) ภาพแคปจากในวิดีโอ meme review ของ PewDiePie

วิธีคิดแบบอีลอน มัสก์

หลายคนบอกว่าที่อีลอนสำเร็จได้อย่างทุกวันนี้ได้ก็เพราะวินัยในการทำงานของเขา อีลอนทำงานสัปดาห์ละ 58 ชั่วโมง เขามีวิสัยทัศน์ที่ต่างออกไป และเขาก็ยังมีความอดทนอดกลั้นสูง แต่แอดว่าสิ่งเหล่านี้ก็หาได้จากคนทั่วไป

 

แล้วสิ่งที่อีลอนทำต่างออกไปคืออะไรกันแน่?

 

ใครๆ ชอบบอกว่า ถ้าจะเป็นมือหนึ่งระดับโลก เราก็ต้องตั้งหน้าตั้งตาทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สุด แต่อีลอนไม่ทำแบบนั้น อีลอนศึกษาทั้งด้านอวกาศ วิศวกรรม ฟิสิกส์ จนไปถึง AI และพลังงานทดแทน และเขาก็เก่งในทุกๆ ด้านที่ว่ามาด้วย

Orit Gadiesh ประธานบอร์ดบริหารบริษัท Bain & Company ใช้คำว่า “ผู้เชี่ยวชาญทั่วไป (Expert-Generalist)” สำหรับคนอย่างอีลอน มัสก์ ผู้เชี่ยวชาญทั่วไปจะศึกษาเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ในหลากหลายสาขาวิชา ทำความเข้าใจหลักการที่เกี่ยวโยงสาขาเหล่านั้นเข้าด้วยกัน และนำไปปรับใช้กับสาขาหลักของพวกเขา

และแอดเชื่อจริงๆ ค่ะว่าการเรียนรู้ในหลากหลายสาขาวิชาจะทำให้คนเราค้นพบหนทางประสบความสำเร็จได้มากกว่า

Orit Gadiesh elon musk
Orit Gadiesh (1951-ปัจจุบัน) เธอติดอันดับ 1 ใน 100 ผู้หญิงที่ทรงอิทธิพลที่สุด จากนิตยสาร Forbes

 

เรื่องเล่าของ “คนรู้อย่างเป็ด” (Jack of All Trades)

คุณผู้อ่านหลายคนคงคุ้นเคยกับสำนวน “รู้ทุกเรื่อง แต่รู้ไม่จริงซักเรื่อง” กันอยู่แล้ว มันหมายความว่าถ้าคุณเรียนรู้อะไรหลายๆ อย่าง คุณก็จะรู้เรื่องเหล่านั้นแต่เพียงผิวเผิน

แต่ถ้าดูจากความสำเร็จนับครั้งไม่ถ้วนของเหล่า “ผู้เชี่ยวชาญทั่วไป” แล้ว สำนวนนั้นกลับผิดมหันต์ การเรียนรู้ในหลากหลายสาขาวิชาจะทำให้คุณมีข้อมูลในสมองมากขึ้น คุณสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ มากกว่าคนทั่วไปที่สนใจแค่เรื่องตรงหน้าอย่างเดียว

ยกตัวอย่าง ถ้าคุณทำงานอยู่ในวงการเทคโนโลยี ที่ทุกคนต่างหมกมุ่นกับการเขียนโปรแกรมอย่างเดียว แต่คุณกลับมีความรู้ด้านชีววิทยาติดตัวด้วย คุณอาจจะนำการเขียนโปรแกรมไปช่วยแก้ปัญหาในชีววิทยาได้ด้วย คุณจะมีมุมมองการแก้ปัญหาที่กว้างกว่าคนที่ไม่เอาอะไรนอกจากชีวะๆ แค่นั้น

แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังวนเวียนอยู่แต่ในสาขาวิชาของตัวเอง

ในผลงานการวิจัยชิ้นนึงของ Dean Keith Simonton บ่งชี้ว่า นักแต่งเพลงโอเปร่าในยุค 90 นั้น “ประสบความสำเร็จในการแต่งเพลง ‘โอเปร่า’ มากกว่า ถ้าในเพลงนั้นมีการผสมผสานดนตรีแนวอื่นด้วย … และนักแต่งเพลงหลีกเลี่ยงการฝึกซ้อมมากเกินไปได้ด้วยการฝึกซ้อมดนตรีแนวอื่น” ซึ่งสวนทางกับความเชื่อที่ว่า “คนเก่งคือคนที่ฝึกซ้อมในสาขานั้นๆ อย่างหนักและรู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นเป็นอย่างมาก”

 

พลังแห่ง “การเรียนรู้ด้วยการถ่ายโอน” ของอีลอน มัสก์

คิมบาล มัสก์ น้องชายของอีลอน บอกว่าอีลอนตอนวัยรุ่นอ่านหนังสือวันละ 2 เล่ม หลากหลายประเภทไม่ซ้ำกัน ว่าง่ายๆ คือถ้าคุณอ่านหนังสือเดือนละเล่ม ก็เท่ากับอีลอนอ่านจบไปแล้วมากกว่า 60 เล่ม

ในช่วงแรก อีลอนเน้นอ่านนิยายไซไฟ ปรัชญา ศาสนา การเขียนโปรแกรม และชีวประวัติของเหล่านักวิทยาศาสตร์ วิศวกร และนักลงทุนชื่อดัง พอเขาโตขึ้น เขาก็เริ่มหันไปสนใจเกี่ยวกับฟิสิกส์ วิศวกรรม การออกแบบผลิตภัณฑ์ ธุรกิจ เทคโนโลยี และพลังงาน ความกระหายความรู้นี้เองที่ช่วยให้เขาได้เปรียบด้านข้อมูลและคิดต่างไปจากเด็กๆ คนอื่นในโรงเรียน

นอกจากนี้แล้ว อีลอน มัสก์ ยังมีวิธีเรียนรู้ที่เป็นเอกลักษณ์อีกอย่างที่คนอื่นไม่ค่อยรู้ด้วย นั่นก็คือ “การเรียนรู้ด้วยการถ่ายโอน”

 

การเรียนรู้ด้วยการถ่ายโอน คือการเรียนรู้เรื่องหนึ่งเพื่อนำไปใช้กับอีกเรื่อง เป็นการจับสิ่งที่เราเรียนในห้องเรียนหรืออ่านมาจากหนังสือ แล้วนำไปปรับใช้กับ “โลกแห่งความเป็นจริง” หรืออาจจะเป็นการเอาความรู้จากในแวดวงวิทยาศาสตร์ ไปใช้ในวงการธุรกิจก็อาจได้อีกเช่นกันค่ะ

อีลอนแบ่งขั้นตอนการ “เรียนรู้ด้วยการถ่ายโอน” ออกเป็น 2 ขั้นตอนด้วยกัน ได้แก่

  1. “ชำแหละ” สิ่งที่เรียนรู้มาออกจนเหลือเพียงแก่น

คุณต้องมองว่าความรู้เป็น “ต้นไม้แห่งความหมาย” ซึ่งหมายความว่า คุณต้องเข้าใจหลักการพื้นฐาน (ลำต้น) ก่อน แล้วจึงค่อยขยับขยายไปที่รายละเอียด (กิ่ง ก้าน ใบ) ของเรื่องนั้นๆ กิ่งก้านสาขา ใบไม้ คงอยู่ไม่ได้ถ้าไม่มีลำต้นของมันใช่มั้ยล่ะคะ

งานวิจัยชิ้นหนึ่งชี้ว่า การเปลี่ยนความรู้ของคุณให้มีความเป็นนามธรรมมากขึ้น จะช่วยให้ “การเรียนรู้ด้วยการถ่ายโอน” เป็นไปได้อย่างราบรื่นมากกว่า และยังมีเทคนิคอีกอย่างที่จะทำให้คุณค้นหาหลักการพื้นฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มันมีชื่อเรียกว่า “กรณีตรงข้าม”

elon musk

ดูจากรูปด้านบนแล้ว คุณผู้อ่านคิดว่าแนวคิดไหนใช้ได้ผลมากกว่ากันคะ?

 

ถ้าใครตอบว่า แนวคิดที่ 1 ก็ถูกต้องแล้วค่ะ ตัว A แต่ละตัวในรูปที่ 1 นั้นทำให้เรารู้ว่าพวกมันแตกต่างกันยังไง หรือมีตัวไหนที่คล้ายกันบ้าง แต่ในแนวคิดที่ 2 ตัว A เหมือนกันไปหมด

หลังจากที่เราได้ศึกษากรณีที่แตกต่างกันมากๆ เข้า เราก็จะรู้เริ่มรู้แล้วว่าสิ่งไหนสำคัญ และแม้แต่ผนวกความรู้นั้นจนกระทั่งสร้างสรรค์ผลงานของตัวเองได้ในที่สุด

ความรู้นี้มีประโยชน์อย่างไรในชีวิตประจำวันของเรา?

มันบอกให้เรารู้ว่าหากเราได้โอกาสเข้าไปเรียนรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาใหม่ๆ เราไม่ควรตั้งหน้าตั้งตาศึกษาในเรื่องนั้นๆ เพียงอย่างเดียว เราควรค้นคว้าในหลายๆ สาขาวิชา ชำแหละมัน เปรียบเทียบ และปรับปรุง นี่จะช่วยให้เราหา “แก่น” อย่างง่ายดาย

 

2. “ปรับปรุง” แก่นที่ได้มาจากข้อ 1 ให้เป็นในแบบของตัวเอง และนำไปปรับใช้กับแต่ละสาขาวิชา

ยกตัวอย่างในกรณีของอีลอน:

  • อีลอนเรียนรู้เรื่องอวกาศเพื่อสร้าง SpaceX
  • อีลอนเรียนรู้เรื่องยานยนต์เพื่อสร้าง Tesla ที่มีจุดเด่นคือระบบขับเคลื่อนด้วยตัวเอง
  • อีลอนเรียนรู้เรื่องรถไฟเพื่อศึกษาเกี่ยวกับ Hyperloop ให้ลึกยิ่งขึ้น
  • อีลอนเรียนรู้เรื่องการบินเพื่อศึกษาเกี่ยวกับเครื่องบินไฟฟ้าที่บินขึ้นและจอดลงในแนวดิ่ง
  • อีลอนเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยีเพื่อทำความเข้าใจการทำงานในสมองของมนุษย์
  • อีลอนเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยีเพื่อสร้าง PayPal
  • อีลอนเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยีเพื่อสร้าง OpenAI บริษัทไม่หวังผลกำไรที่มุ่งหวังพัฒนา AI ที่ปลอดภัยกับมนุษย์
tesla elon musk
สถานีชาร์จแบตของ Tesla

 

Keith Holyoak ศาสตราจารย์จาก UCLA ด้านจิตวิทยา และหนึ่งในนักคิดที่โด่งดังที่สุดในโลก แนะนำให้เราตั้งคำถาม 2 ข้อต่อไปนี้ เพื่อขัดเกลาความรู้ความสามารถเราให้เฉียบคมยิ่งขึ้น

  1. “สิ่งนี้ทำให้ฉันนึกถึงอะไร?”
  2. “ทำไมมันทำให้ฉันนึกถึงสิ่งนี้?”

 

เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณกำลังอ่านหนังสือ หรือมองดูสิ่งต่างๆ รอบตัว การถาม 2 คำถามนี้จะทำให้คุณได้คิด เพิ่มรอยหยักในสมอง และหาความเชื่อมโยงของสิ่งต่างๆ ได้

ทีนี้เราก็ได้ข้อสรุปแล้วว่าอีลอน มัสก์ ได้กลายเป็น “ผู้เชี่ยวชาญทั่วไป” ระดับโลกได้อย่างไร:

  • อีลอนอ่านหนังสือมากกว่าพวกเรา 60 เท่า
  • อีลอนไม่ได้อ่านหนังสือแค่แนวเดียว แต่หลากหลาย
  • อีลอน “ชำแหละ” ความรู้ที่ได้มาออกให้เหลือเพียงแก่น และนำไปปรับใช้ในแต่ละสาขาวิชาตามที่เขาต้องการ

ผู้เชี่ยวชาญทั่วไประดับพระกาฬนามว่า Buckminster Fuller ได้บอกเอาไว้ว่า

เราอยู่ในยุคที่ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเป็นสิ่งที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางและใครๆ ก็ดูจะอยากเป็น “ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน” (Specialist) กันทั้งนั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว สังคมเรากลับโหยหาผู้ที่มีความรู้รอบด้าน ความเชี่ยวชาญนั้นเต็มไปด้วยขอบเขตจำกัด และอคติ เพราะแต่ละคนล้วนเห็นต่างกัน ซึ่งท้ายที่สุดอาจนำไปสู่ความขัดแย้งและสงคราม

 

การทำความเข้าใจว่าคนอย่างอีลอน มัสก์ ได้ซูเปอร์พาวเวอร์แห่งการเรียนรู้มาจากไหน ช่วยให้เราได้เห็นว่าเขาก้าวเข้าไปสู่วงการที่อยู่มาเนิ่นนานกว่า 100 ปี และพลิกโฉมหน้ามันไปตลอดกาลได้อย่างไร

อีลอน มัสก์ อาจเป็นคนเก่งที่หาตัวจับยาก แต่ความสามารถของเขาก็ไม่ได้เสกขึ้นมาจากเวทมนต์ที่ไหนหรอกค่ะ มันเกิดขึ้นจากความมุมานะล้วนๆ

 

บทความเกี่ยวข้องที่น่าสนใจ

  • รู้จักอีลอน มัสก์ กันไปแล้ว แล้วสตีฟ จอบส์ ล่ะ คุณรู้จักเขามากแค่ไหน? หนังสือ Steve Jobs จะพาคุณไปทำความรู้จักกับอัจฉริยะผู้เปลี่ยนโลก สตีฟ จอบส์ แบบละเอียดยิบ ทั้งวิธีการหาไอเดีย วิธีการทำงาน และช่วงเวลาอันทุลักทุเลก่อนที่เราจะได้ผลิตภัณฑ์แอปเปิ้ลอันโด่งดังมาไว้ในมือ
  • วิธีการทำงานแบบอีลอน มัสก์ เป็นเพียงวิธีการหนึ่งในหลายๆ วิธีที่บุคคลที่ประสบความสำเร็จใช้กัน อีกวิธีคือ “คิดแบบมาร์ค” หนังสือ Think Like Zuck จะพาคุณไปพบกับเบื้องหลังไอเดียการสร้างผลิตภัณฑ์และวิธีการทำงานในแบบฉบับของมาร์ค ตั้งแต่ก่อนก่อตั้งเฟซบุ๊ก ไล่มาจนถึงวันที่เขายืนอยู่บนจุดสูงสุด
  • ได้รู้แล้วว่ามาร์ค ซัค คิดแบบไหนในเรื่องการทำธุรกิจ แต่สมองของอัจฉริยะไม่หยุดอยู่แค่เรื่องเดียว ในบทความ 3 สิ่งที่ Mark Zuckerberg อยากบอกกับคนเจน Z ในวันรับปริญญา มาร์คจะบอกคุณผู้อ่าน โดยเฉพาะน้องๆ ที่จบใหม่ ให้รู้ว่าต้องเดินทางไหนต่อเพื่ออนาคตที่ดีกว่า
  • ได้รู้เรื่องราวหลังเรียนจบแล้ว เรื่องธุรกิจเต็มตัวแล้ว หนังสือ Becoming Facebook ยังเสริมถึงรายละเอียดการทำงานของทีมงานเฟซบุ๊ก ว่าพวกเขาฝ่าฟันกันมายังไงถึงทำให้โซเชียลที่มีผู้ใช้มากที่สุดในโลกทั้งน่าดึงดูดและมีเสถียรภาพขนาดนั้นได้? ความเป็นผู้นำของมาร์คดีขนาดนั้นจริงเหรอ? ตามไปอ่านสรุปกันก่อนแล้วค่อยตัดสินใจซื้อเล่มเต็มก็ยังไม่สายค่ะ ^^ (ลิงก์หนังสือด้านล่าง)

 

หนังสือแนะนำเพิ่มเติมจากสำนักพิมพ์บิงโก

becoming facebook and launch pad

  • ไม่ใช่ทุกคนที่จะสร้างสตาร์ทอัพได้อย่างอีลอน มัสก์ โรงเรียนสอนสตาร์ทอัพจึงถือกำเนิดขึ้นมา หนังสือ THE LAUNCH PAD ขโมยวิธีคิดสุดเจ๋ง จากสุดยอดโรงเรียนสอนสตาร์ทอัพ จะทำให้คุณวางไม่ลงด้วยเนื้อหาเจาะลึกโรงเรียนสอนสตาร์ทอัพอันดับ 1 แห่งซิลิคอนวัลเลย์ที่ทำให้ Airbnb, Twitch, Dropbox และผลิตภัณฑ์ชั้นนำอื่นๆ ต่างก็ฮิตติดตลาด หรือแม้แต่เปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตของผู้คนแห่งศตวรรษที่ 21 มานักต่อนักแล้ว
  • อีลอน มัสก์ อาจจะเป็นเจ้าพ่อวงการเทคที่โด่งดัง แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเจ้าของเฟซบุ๊ก หรือมาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก นั้นมีอิทธิพลกับชีวิตของเรามากกว่า Becoming Facebook คิดแบบมาร์ค ทำแบบเฟซบุ๊ก เป็นหนังสือที่ขุดคุ้ยเบื้องหลังการทำงานของมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก และทีมงานเฟซบุ๊กได้ถึงกึ๋น เนื้อหาในเล่มมีความพิเศษและไม่เคยได้รับการเปิดเผยที่ไหนมาก่อนด้วยฝีมือการเขียนของอดีตนักการตลาดจากเฟซบุ๊กเอง

 

2 thoughts on “คิดยังไง ให้ได้อย่าง Elon Musk

  1. Pingback: The Secret Life of Elon Musk บุรุษผู้เปลี่ยนนิยายวิทยาศาสตร์ให้เป็นความจริง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก