ในที่สุดบทความในซีรี่ส์ Big Data ก็มาถึงโค้งสุดท้าย วันนี้เราจะมาพูดถึงกรณีศึกษาของ BBC ที่ทุกคนรู้จักกันในนามสำนักข่าวชื่อดังจากสหราชอาณาจักร พวกเขาใช้ Big Data ทำงานกันยังไง? ต่างจากในกรณีก่อนๆ ของ Netflix และ Walmart รึเปล่า? อย่างไร? อยากรู้ต้องอ่านต่อค่ะ
BBC กับยุคสมัยใหม่ในการใช้ Big Data
BBC คือหนึ่งในองค์กรสื่อที่ใหญ่ที่สุดในโลกและใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักร BBC ในบ้านเกิด (สหราชอาณาจักร) สามารถผลิตสื่อได้แทบทุกประเภทเพราะพวกเขาไม่ต้องคอยสร้างคอนเทนต์ดึงดูดสปอนเซอร์ แต่ได้เงินหนุนจากภาษีใบอนุญาตการรับชมโทรทัศน์ หรือ TV License* แทน แต่ไม่ว่าเงินสนับสนุนจะมาจากไหน BBC ก็ยังคงใช้ Big Data เป็นเครื่องมือในการดึงดูดผู้ชมไม่ต่างจากองค์กรสื่ออื่นๆ ซึ่ง BBC ตอนนี้ก็มีคลังข้อมูลดิจิตอลเป็นของตัวเองแล้ว ผ่านบริการสตรีมมิ่ง iPlayer และบริการอื่นๆ ของ BBC Online
BBC ในสหราชอาณาจักรยังคงผลิตคอนเทนต์ตามวัตถุประสงค์ของผู้ก่อตั้ง จอห์น รีท ที่เคยให้ไว้ว่า คอนเทนต์ที่ BBC ผลิตต้อง “ให้ข้อมูล, ให้ความรู้ และให้ความบันเทิง” ส่วนในสาขาต่างประเทศนั้นจะต่างออกไปสักหน่อย เมื่อ BBC ยังคงต้องใช้โฆษณาเพื่อหารายได้ และแน่นอนว่าต้องแข่งกับสื่อรายอื่นๆ อย่างเข้มข้นด้วย
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะที่บ้านเกิดหรือที่ต่างประเทศ ปัญหาของ BBC ก็ยังเป็นปัญหาเดิมคือ ทำอย่างไรจึงจะผลิตคอนเทนต์ดึงดูดผู้บริโภคได้? ซึ่งการแก้ปัญหาที่ว่าในตอนนี้ได้ต่างออกไปจากในอดีต เมื่อรายการทอล์กโชว์ที่มีดาราคนดังตอน 4 ทุ่มไม่สามารถดึงดูดยอดผู้ชมได้มากเท่ากับเมื่อก่อน แต่เป็นการปล่อยให้พวกเขาเลือกคอนเทนต์ที่จะดู ฟัง หรืออ่านได้ตามใจชอบ ที่ไหนก็ได้ เมื่อไหร่ก็ได้
*ทุกบ้านในสหราชอาณาจักรต้องเสียภาษีใบอนุญาตการรับชมโทรทัศน์ หรือ TV License เป็นรายปีจึงจะใช้สัญญาณโทรทัศน์หรืออินเทอร์เน็ตได้ ใครไม่จ่ายถือว่าเลี่ยงภาษีและมีโทษความผิดทางอาญา
BBC ใช้งาน Big Data อย่างไรบ้าง?
ถ้าพูดถึง BBC ใครๆ ก็คงนึกถึงสำนักข่าวระดับโลก และการวิเคราะห์ Big Data ก็เป็นกุญแจสำคัญตัวนึงที่ช่วยให้ BBC ได้รับการยกย่องระดับนั้น
ในปี 2013 BBC ประกาศหาพาร์ทเนอร์เพื่อร่วมทำโปรเจกต์เกี่ยวกับ Big Data โดยมีบัดเจ็ทอยู่ที่ 18 ล้านปอนด์ (ราว 713 ล้านบาท) โดยครอบคลุมหลายโครงการด้วยกัน แต่ที่เจาะจงเป็นพิเศษก็เห็นจะเป็นทั้ง 3 โครงการ ดังต่อไปนี้
1. ระบบการแนะนำ
ในเรื่องของ “ระบบการแนะนำ” นี้ เราได้พูดถึงเรื่องนี้กันไปคร่าวๆ แล้วในบทความ Big Data คืออะไร? ทำไมถึงสำคัญกับชีวิตเรา? และเจาะลึกเพิ่มเติมอีกในบทความ Netflix กลายเป็นผู้นำเรื่องการใช้ Big Data ได้ยังไง? และ Walmart ใช้ Big Data จนขึ้นแท่นเป็นร้านค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้อย่างไร? โดยในกรณีของ BBC ออกจะใกล้เคียงกับของ Netflix มากกว่าคือ “ผู้ชมอยากชมอะไรต่อ?” BBC อยากได้ระบบที่แม่นยำในการแนะนำว่ารายการทีวีหรือรายงานข่าวตัวถัดไปตัวไหนที่ผู้ชมน่าจะอยากชมมากที่สุด
2. myBBC
โครงการ myBBC มีเป้าหมายในการตรวจสอบและเพิ่มความใกล้ชิดระหว่างตัวองค์กรและผู้ชมให้มากขึ้น ผ่านการพัฒนาคอนเทนต์บน BBC Online (เครือข่ายเว็บไซต์ขนาดใหญ่ของ BBC ที่เชื่อมโยงกับ bbc.com หรือ bbc.co.uk ทั้งหมด) พวกเขาอยากให้มีการสื่อสารแบบ two-way หรือจากทั้ง 2 ฝ่าย ให้ทั้งผู้สร้างคอนเทนต์และผู้ชมโต้ตอบกันได้ผ่านโซเชียลมีเดีย พวกเขาจึงพยายามรวบรวม Big Data ว่าผู้ชมชอบคอนเทนต์แบบไหน? อะไรกำลังมา? อะไรจะกระตุ้นให้พวกเขาอยากพูดคุยกับคนสร้างคอนเทนต์มากที่สุด?
3. เทคโนโลยีการจับสีหน้า
จากการร่วมมือในครั้งนี้ ยังมีอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่ถูกนำไปทดลองแล้วได้ผลจริง นั่นคือเทคโนโลยีการจับสีหน้า ซึ่งจะประเมินสีหน้าของผู้ชมระหว่างดูรายการทีวี เทคโนโลยีนี้ได้ถูกนำไปทดลองในกว่า 4 ประเทศ กับ 50 รายการทีวีที่แตกต่างกันไป โดยมีการติดตั้งกล้องที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อจับสีหน้าและแปลงสีหน้านั้นออกมาเป็นคำที่บ่งบอกอารมณ์ เช่น “กลัว” หรือ “เศร้า” เป็นต้น และรวบรวมออกมาเป็น Big Data ว่าผู้ชมออกท่าออกทางในช่วงไหนมากกว่ากัน การทดลองที่ออสเตรเลียครั้งนึง ผู้ชมจากหลายครอบครัวก็ถูกจับตาโดยกล้องที่ว่า ขณะกำลังดูตัวอย่างซีรี่ส์เรื่อง Sherlock
ผลลัพธ์ที่ได้จากการใช้ Big Data
หลังจากรวบรวม Big Data ในการทดลองที่ประเทศออสเตรเลียแล้ว ทำให้ทาง BBC ได้รู้ว่า ผู้ทดลองจะออกอาการในช่วงที่หน้าจอกำลังฉายฉาก “น่าทึ่ง” หรือ “เศร้า” มากกว่าช่วงที่ “ตลก” ผู้กำกับหนัง Sherlock เลยใส่ฉากดาร์กๆ น่ากลัวๆ เข้าไปในซีรี่ส์มากขึ้น และลดฉากขำขันลง ซึ่งก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี
อุปสรรคในการใช้ Big Data
อะไรๆ ก็คงไม่ราบรื่นไปเสียหมด ไม่ว่าองค์กรคุณจะใหญ่หรือมีเงินถุงเงินถังแค่ไหนก็ตาม BBC เองก็มีปัญหาอุปสรรคที่ต้องข้ามผ่านไปให้ได้เช่นกัน โดยมี 2 อุปสรรคใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้
1. ข้อจำกัดเรื่องความเป็นส่วนตัว
BBC ในสหราชอาณาจักรรู้ดีว่าตัวเองกำลังทำงานเพื่อรัฐบาลและคนเสียภาษี (ใบอนุญาตการชมโทรทัศน์) พวกเขาจึงพยายามปกป้องข้อมูลและความเป็นส่วนตัวของผู้ชมอย่างระมัดระวังมากกว่าองค์กรสื่อเอกชนอื่นๆ
ไมเคิล ฟิชเชอร์แมน หัวหน้าฝ่ายดิจิตอลเทคโนโลยีเพื่อผู้บริโภคของ BBC เคยกล่าวไว้ว่า “จริงๆ การทำงานของ BBC ทั้งโลกก็เน้นไม่รุกล้ำผู้บริโภคอยู่แล้ว และเราก็มีตัวตรวจเช็คหมดเพื่อทำให้แน่ใจว่าเราไม่รุกล้ำความเป็นส่วนตัวของพวกเขาจริงๆ”
แต่เมื่อการเฝ้าระวังรัดกุมขนาดนั้น พอเกิดข้อกังขาต่อความเป็นส่วนตัวขึ้นมา โปรเจกต์นั้นก็จะถูกระงับทันที
2. ไม่มีช่องทางหารายได้เพิ่ม
อีกอุปสรรคนึงก็คือ ไม่มีช่องทางการหารายได้เพิ่ม เพราะ BBC ในสหราชอาณาจักรต่างจากองค์กรอื่นตรงที่ไม่ต้องหาสปอนเซอร์ แต่รับเงินหนุนจากภาษีประชาชนแทน พวกเขาจึงไม่สามารถใส่โฆษณาเข้าไปในบริการต่างๆ ได้ รายได้ก็ไม่เพิ่ม สมมติเมื่อมีรายงานข่าวเด่นๆ องค์กรเอกชนอื่นก็จะดึงดูดสปอนเซอร์มาในช่วงนี้มาได้มากกว่าปกติ รายได้ก็จะเพิ่มขึ้น แต่กับ BBC ที่ไม่มีสปอนเซอร์ รายได้ก็เท่าเดิม ที่เพิ่มขึ้นมีแต่ค่าใช้จ่าย (ยิ่งคนเข้าเว็บไซต์เพิ่ม ก็ยิ่งต้องเฝ้าระวังเรื่องความลื่นไหลของการรับส่งข้อมูลและขนาดของเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งถ้าติดขัดหรือไม่พอก็แน่นอนว่าต้องเสียเงินเพิ่มเพิ่ม)
อย่างที่เดิร์ก-วิลเลม ฟานกูลิก ได้บอกไว้ในงาน Macworld ปี 2011 ว่า “ยังไงรายได้เราก็คงเดิม สักสตางค์ก็ไม่ได้เพิ่ม เพราะฉะนั้นเวลาเรามีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้น 10 เท่า เราก็ยิ่งต้องหาทางตัดค่าใช้จ่ายให้ถูกลงอีก 10 เท่า”
ด้วยเหตุนี้เอง BBC จึงพัฒนาโครงสร้างที่ใช้ในการจัดเก็บและวิเคราะห์ Big Data เพื่อให้คุ้มค่ามากที่สุด ซึ่งหนึ่งในวิธีการนั้นก็คือการสร้างเซิร์ฟเวอร์เอง จะได้ไม่ต้องคอยพึ่งพาบริษัทนอก นอกจากนี้ยังมีการใช้ Tape Drive หรือ ตัวเก็บข้อมูลแบบถอดได้ แทน Hard Drive ที่ถอดออกจากตัวคอมพิวเตอร์ไม่ได้ มีราคาแพงกว่า และเกิดปัญหาบ่อย (ค่าซ่อมบำรุงมากกว่า)
สรุปกันหน่อย หลังจากได้รู้กันไปแล้วว่า BBC ใช้ Big Data จนกลายเป็นผู้นำสื่อของโลกได้อย่างไร
การทำสื่อในยุคปัจจุบันยังไงก็หนีไม่พ้นรูปแบบดิจิตอล ไม่ว่าจะเป็นสตรีมมิ่งหรือการโพสต์บนโซเชียลมีเดีย เทคโนโลยี Big Data จึงกลายเป็นเครื่องมือจำเป็นในการพัฒนาองค์กรไปโดยปริยาย และไม่ว่าองค์กรสื่อของคุณจะได้รับการสนับสนุนโดยรัฐบาลหรือเอกชน เป้าหมายก็ยังมีเพียงหนึ่งเดียวร่วมกัน นั่นก็คือ การสร้างคอนเทนต์ที่ดึงดูดผู้ชมให้มากกว่าคู่แข่ง โดยที่ BBC เองก็มีข้อได้เปรียบมากกว่าองค์กรอื่นอยู่ ซึ่งก็คือ ไม่ต้องง้อสปอนเซอร์ แต่ข้อเสียเปรียบก็คือ ต้องคอยระวังเรื่องระบบการป้องกันและความเป็นส่วนตัวมากเป็นพิเศษ เพราะถ้าพลาดก็อาจเกิดผลกระทบทางการเมืองตามมาได้เลย
บทความน่าสนใจที่เกี่ยวข้อง
- สำหรับคุณผู้อ่านที่ยังไม่แน่ใจว่า Big Data คืออะไร แอดขอแนะนำบทความต้นเรื่องที่ Big Data คืออะไร? ทำไมถึงสำคัญกับชีวิตเรา?
- กรณีศึกษาการใช้ Big Data จาก Netflix ค่อนข้างใกล้เคียงกับ BBC แต่ก็ไม่เหมือนกันซะทีเดียว เพราะ Netflix เซียนในเรื่องนี้มากกว่า BBC เสียอีก เซียนขนาดไหน ไปตามกันต่อที่บทความ Netflix กลายเป็นผู้นำด้านการใช้ Big Data ได้อย่างไร?
- การใช้ Big Data ของ Walmart ออกจะแตกต่างกับ BBC อยู่พอตัว ด้วยความที่ Walmart มีหน้าร้านจริงๆ แต่ Big Data ไม่ได้หมายถึงโลกดิจิตอลเท่านั้นหรือ? พวกเขาทำได้ยังไง? อ่านรายละเอียดได้ที่บทความ Walmart ใช้ Big Data จนขึ้นแท่นเป็นร้านค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้อย่างไร?
- 9 เทรนด์เทคโนโลยี ที่กำลังจะมาเปลี่ยนชีวิตคุณ เป็นบทความรวมสุดยอดเทคโนโลยีที่บอกว่า Big Data เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งที่จะมาเปลี่ยนโลกในยุคสมัยใหม่
- ตอนนี้ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกมองว่า AI หรือปัญญาประดิษฐ์ จะเปลี่ยนโลกยิ่งกว่าไฟฟ้าหรืออินเทอร์เน็ต ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร ทำอาชีพอะไร AI จะมีผลต่อคุณไม่ช้าก็เร็ว และคนที่รู้จักมันเร็วที่สุด ก็คือคนที่จะคว้าโอกาสใหญ่ได้ก่อนใคร
หนังสือที่คุณอาจสนใจ
เจาะลึกบทเรียนล้ำค่าที่ถูกเก็บเป็นความลับเฉพาะในหมู่นักธุรกิจและนักลงทุน ส่งตรงจากศูนย์กลางสตาร์ทอัพอันดับ 1 ของโลก
- Airbnb บริษัทที่เคยขายอาหารเช้า แต่พลิกวิกฤติเป็นโอกาสจนปฏิวัติวงการโรงแรมได้
- Dropbox บริการฝากไฟล์ออนไลน์ที่ล้มผลิตภัณฑ์ของสตีฟ จอบส์ มาแล้ว
- Twitch แพลทฟอร์มสตรีมเกมที่เริ่มจากไอเดียเล็กๆ แต่ทะยานสู่อันดับ 1 ภายใน 2 ปี
บริษัทเหล่านี้เปลี่ยนจากธุรกิจเล็กๆ เป็นยักษ์ใหญ่สะเทือนวงการได้ในเวลาอันสั้น แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่า พวกเขาเป็นศิษย์ที่ร่ำเรียนมาจากสำนักเดียวกัน และคุณก็เรียนรู้วิธีคิดของพวกเขาได้ในหนังสือขโมยวิธีคิดสุดเจ๋ง จากสุดยอดโรงเรียนสอนสตาร์ทอัพ
พบกับหนังสือแปลจากญี่ปุ่น “เปลี่ยนคนธรรมดาให้มีหัวธุรกิจใน 3 ชั่วโมง” ซึ่งรวม “ทุกวิธีคิด” ในโลกธุรกิจไว้ครบในที่เดียว ตั้งแต่พื้นฐานไปจนถึงแนวคิดที่ทันสมัยที่สุด แค่ใช้เวลาอ่านไม่นาน คุณจะพัฒนาจากคนที่เริ่มต้นเรียนรู้ เป็นคนที่เข้าใจธุรกิจได้ลึกซึ้ง พร้อมเข้าใจการเงิน กลยุทธ์ และการตลาดของบริษัทต่างๆ ได้สบาย เหมาะกับทั้งคนที่เริ่มสนใจธุรกิจ และคนที่อยากเติมความรู้เก่าให้ครบถ้วน
หนังสือ อยากสำเร็จต้องโฟกัส ด้วยแนวคิด OKR จะพาคุณไปพบกับ “OKR” แนวคิดการบริหารแบบใหม่ ที่ฮอตฮิตที่สุดในซิลิคอนวัลเลย์
บริษัทยุคใหม่ทั้ง Google, Apple, Amazon, Netflix และ Facebook ต่างก็ใช้เพื่อเป็นตัวเร่งให้บริษัทเติบโต
เขียนโดบ Christina Wodtke ศาสตราจารย์จากสแตนฟอร์ด
แหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม
Pingback: Walmart ใช้ Big Data จนขึ้นแท่นเป็นร้านค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้อย่างไร?
Pingback: Big Data คืออะไร? ทำไมถึงสำคัญกับชีวิตเรา? - สำนักพิมพ์บิงโก
Pingback: Netflix กลายเป็นผู้นำเรื่องการใช้ Big Data ได้ยังไง? - สำนักพิมพ์บิงโก
Pingback: 9 เทรนด์เทคโนโลยี ที่กำลังจะมาเปลี่ยนชีวิตคุณในปี 2020 - สำนักพิมพ์บิงโก