ผู้นำ 2 ชนิด คุณจะเลือกเป็นคนแบบไหน?

ผมขอให้คุณนึกภาพ “ผู้นำ” ในใจ นึกถึงหน้าตา การแต่งตัว วิธีวางตัว ตั้งแต่หัวจรดเท้า คุณเห็นคนแบบไหน?

คุณเห็นภาพผู้นำยืนตระหง่านสีหน้าขึงขัง ท่าทางมั่นใจในตัวเองเหมือนโดนัลด์ ทรัมป์ หรือเปล่า? หรือคุณห็นภาพผู้นำอีกแบบที่ยิ้มแย้มแจ่มใสให้ผู้ติดตามแบบโจ ไบเดน? ลักษณะท่าทางของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาทั้ง 2 คนนี้ต่างกันอย่างสิ้นเชิง จนเกิดเป็นภาพผู้นำสองแบบที่น่าสนใจมาก

งานวิจัยต่างๆ ชี้ว่าผู้นำทุกคนแบ่งได้ 2 ชนิด นั่นคือแบบทรัมป์กับแบบไบเดน และแต่ละสไตล์ก็มีข้อดีข้อเสียต่างกัน วันนี้เราจะมาดูกันครับว่าแต่ละแบบเป็นอย่างไร และคุณอยากเป็นผู้นำแบบไหน

เนื้อหานี้ผมเอามาจากหนังสือ เปลี่ยนคนธรรมดาให้มีหัวผู้นำใน 3 ชั่วโมง ซึ่งเป็นหนังสือที่จะสอนความเป็นผู้นำให้คุณอย่างรวบรัด ครบและจบในเล่มเดียว แนะนำให้อ่านมากๆ ครับ

 

อำนาจ vs อิทธิพล

คนอื่นจะทำตามคุณด้วย 2 สาเหตุ

  1. อำนาจ
  2. อิทธิพล

ผู้นำที่ใช้อำนาจ สามารถให้คุณให้โทษแก่คนอื่นได้ โดนัลด์ ทรัมป์ จะบอกคุณว่า “ถ้าสั่งแล้วไม่ทำ เดี๋ยวจะโดน…” ดังนั้นทุกคนต้องยอมศิโรราบต่อเขา ไม่อย่างนั้นจะโดนไล่ออกหรือเล่นงานอย่างหนัก

แต่ผู้นำที่ใช้อิทธิพลจะนุ่มนวลกว่า มันคือการที่คุณอยู่เฉยๆ คนอื่นก็ทำตามคุณ เพราะคนอื่นคิดว่า “ฉันชอบผู้นำคนนี้จัง ฉันอยากทำสิ่งดีๆ ให้ผู้นำคนนี้”

ถ้าให้ผู้นำสองแบบไปสอนหนังสือ ผู้นำที่ใช้อำนาจจะใช้ไม้เรียวตีเด็กดื้อ แต่ผู้นำที่ใช้อิทธิพลจะแจกลูกกวาดให้เด็กที่สอบได้คะแนนดี

ผู้นำที่ใช้อำนาจมีข้อดีคือ ทำงานง่ายได้เก่ง งานเสร็จเร็ว แต่จะทำงานซับซ้อนไม่ได้ เหมือนนายพลที่สั่งลูกน้องให้หยิบปืนไปโจมตีสนามรบได้ แต่ไม่สามารถทำธุรกิจที่ต้องประสานผลประโยชน์ของคนหลายกลุ่ม

ผู้นำที่ใช้อิทธิพลจะทำงานช้า แต่ทำงานที่ซับซ้อนได้ดีกว่า เขาจะเน้นที่การสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบตัว จึงประสานกับคนอื่นๆ ได้ดี เหมือนในหนังสือ Leaders Eat Last ที่สังเกตว่าผู้บริหารระดับสูงจะเอาคนอื่นมาก่อนตัวเองเสมอ

 

กฎระเบียบ vs ผู้คน

ถ้าคุณเห็นคนชุมนุมประท้วงแล้วสั่งยิงเพราะว่ามัน “ผิดกฎหมาย” คุณคือผู้นำที่เน้นกฎระเบียบ

แต่ถ้าคุณพยายาม compromise หรือประนีประนอม ด้วยการเจรจาต่อรองให้ทุกคนพึงพอใจ คุณคือผู้นำที่เน้นผู้คน

ผู้นำแบบแรกจะยึดกฎระเบียบมาก่อนเสมอ โดยความต้องการของผู้คนสำคัญรองลงมา ในขณะที่ผู้นำแบบที่สองจะยอมหลับตาหนึ่งข้างถ้าเขาเห็นว่ากฎระเบียบนั้นไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้น ผู้คนต่างหากที่สำคัญกว่า

ผู้นำที่ยึดกฎระเบียบจะทำงานได้ดีเมื่อผู้คนเชื่อใจและยอมทำตามเขา ผู้นำแบบนี้จะตัดสินใจฉับไว ไม่มัวเก้ๆ กังๆ ห่วงว่าคนอื่นจะคิดอย่างไร

แต่ถ้าผู้ตามยังไม่เชื่อใจผู้นำแล้วคุณมัวแต่ยึดมั่นในกฎระเบียบ คุณจะปกครองคนไม่ได้ กฎระเบียบที่คุณยึดถือก็ไม่มีค่าอะไรถ้าไม่มีใครทำตาม ในสถานการณ์แบบนี้ผู้นำที่ห่วงใยผู้คนจึงได้เปรียบกว่า เขาจะดึงคนมาอยู่ร่วมกัน เพื่อฝ่าฟันอุปสรรคไปข้างหน้า

คุณควรเป็นผู้นำแบบไหนนั้นจึงขึ้นกับสถานการณ์ด้วย นายพลที่นำทหารออกรบจะต้องเด็ดขาด ถ้าเขามัวแต่ห่วงลูกน้องว่า “รู้สึกอย่างไรเมื่อต้องออกรบ” เขาคงรบแพ้ยับเยิน แต่ในทางกลับกัน ถ้าคุณมัวแต่เน้นกฎในการทำธุรกิจ ไม่นานบริษัทของคุณคงล้มละลาย

 

ผลประโยชน์ vs ความเชื่อใจ

ถ้าคุณอยากให้ใครสักคนทำอะไรให้คุณ คุณจะหยิบยื่นอะไรให้เขา?

ผู้นำแบบโดนัลด์ ทรัมป์ จะเสนอว่า “ผมจะให้ไอ้นี่คุณ ทำสิ่งนี้ให้หน่อย” หรือไม่ก็ “ทำสิ่งนี้ให้หน่อย แล้วผมจะไม่ระเบิดบ้านคุณเป็นการตอบแทน” นี่คือการใช้ผลประโยชน์แลกผลประโยชน์ มันคือการมองโลกว่าเป็น zero-sum game ถ้ามีคนได้ต้องมีคนเสีย

แต่โจ ไบเดน จะบอกคุณว่า “เราเป็นพวกเดียวกัน ทำสิ่งนี้แล้วคุณก็ได้ ผมก็ได้ มาทำด้วยกันไหม”

ความแตกต่างนี้เกิดจากการที่ลึกๆ แล้วทั้งสองคนให้ความสำคัญกับอะไร

ผู้นำที่สนใจผลประโยชน์ ย่อมไม่เชื่อว่าจะมีคนทำสิ่งต่างๆ ให้คุณถ้าไม่นำอะไรไปแลก ในขณะที่ผู้นำที่สนใจผู้คน จะมุ่งสร้างความเชื่อใจกับคนอื่น จากนั้นค่อยหาจุดลงตัวที่แบ่งผลประโยชน์ร่วมกัน

 

ผู้นำที่ได้เปรียบในโลกสมัยใหม่

คุณจะสังเกตว่าผู้นำแต่ละแบบจะมีสถานการณ์ที่เหมาะกับตัวเอง

ถ้าคุณใช้แต่อำนาจสั่งทุกคนที่ขวางหน้า คุณก็ไม่สามารถคิดค้นนวัตกรรมได้ เพราะคนรอบตัวจะกลายเป็น “มนุษย์ทำตามคำสั่ง” ไม่กล้าคิดนอกกรอบ จึงไม่มีใครคิดอะไรใหม่

ในทำนองกลับกัน ถ้าคุณมัวแต่ห่วงคนอื่นเวลามีเหตุการณ์คับขัน งานก็ไม่เสร็จสักที

แต่ผู้นำแบบไหนได้เปรียบกว่าในโลกสมัยใหม่ล่ะ?

หนังสือแทบทุกเล่ม แทบทุกงานวิจัยชี้ว่าผู้นำที่ห่วงใยผู้คนจะประสบความสำเร็จในโลกสมัยใหม่ได้ดีกว่า เพราะการที่สิ่งต่างๆ ไม่หยุดนิ่ง ทำให้คุณต้องปรับตัวตลอดเวลา สายบังคับบัญชาที่แข็งกร้าวหรือกฎระเบียบที่เข้มงวดจะทำให้คุณจมอยู่กับความคิดเดิมๆ ความเชื่อเดิมๆ จนตามไม่ทันโลกที่เปลี่ยนไป

หนังสือ A Whole New Mind “ทักษะด้านไหนชนะในโลกอนาคต” พูดถึง “การเข้าใจคนอื่น” หรือ Empathy ว่าเป็นทักษะสำคัญที่จะทำให้คุณเป็นที่รักของผู้คน ส่วนหนังสือ What Got You Here Won’t Get You There พูดถึงนิสัยต่างๆ ที่จะดับอนาคตคุณถ้าไม่รีบแก้ไข

เราจะเห็นได้จากบริษัทสมัยใหม่อย่าง Google ที่มีโครงสร้างองค์กรแบนราบ มีความเป็น “หัวหน้า-ลูกน้อง” น้อยลง ทุกคนจึงช่วยกันสร้างนวัตกรรมระดับโลกออกมาได้ง่าย (ลองดูวิธีทำงานของกูเกิลในบทความ How Google Works ครับ)

ไอเดียดีๆ ไม่ได้เกิดจากคำสั่ง “จงคิดไอเดียดีๆ ซะสิ” ผู้นำต้องใจกว้าง นึกภาพว่าตัวคุณมีไอเดียใหม่ แต่ถ้าพลาดขึ้นมาหัวหน้าจะลงโทษทันที คุณจะยังทำไอเดียนั้นไหม? นวัตกรรมเกิดจากการลองผิดลองถูก ถ้าคุณต้องการสิ่งใหม่ ความล้มเหลวก็ต้องมากตาม ดังนั้นถ้าพนักงานทำผิดพลาดไม่ได้เลย บริษัทนั้นไม่มีทางมีนวัตกรรม

ดังนั้นผู้นำที่จะประสบความสำเร็จในอนาคต คือคนที่ใจกว้าง เห็นอกเห็นใจ และใส่ใจผู้คนมากขึ้น

 

แนะนำหนังสือที่คุณน่าจะชอบ

ความเป็นผู้นำยังมีอีกหลายแง่มุมให้เราได้ศึกษากัน สนพ.บิงโกมีหนังสืออีกเล่มจากประเทศที่ได้ชื่อว่ามีสุดยอดผู้นำมากมายอย่างญี่ปุ่นมาแนะนำครับ หนังสือเล่มนั้นมีชื่อว่า เปลี่ยนคนธรรมดาให้มีหัวผู้นำใน 3 ชั่วโมง ผู้เขียนเป็นศาสตราจารย์คนเก่งจากมหาวิทยาลัยวาเซดะ ซึ่งเขาได้ปั้นผู้นำญี่ปุ่นมาแล้วมากกว่า 1,000 คน

เราหลายคนถูกสอนมาให้ “เก่งทางเดียว” แล้วเก่งด้านนั้นให้สุดทางไปเลย

วิธีคิดแบบนี้ใช้ได้ผลในสมัยก่อนที่คนเก่งมีน้อย แต่โลกเรากำลังเปลี่ยนไป สมัยนี้คนเก่งเกลื่อนจนแทบจะเดินชนกัน ต่อให้คุณทำอะไรได้ ก็จะมีอีกเป็นหมื่นคนและ AI ที่ทำได้เหมือนคุณ

หนังสือวิถีผู้ชนะฉบับคนเก่งแบบเป็ด จะสอนให้คุณเป็น “เป็ด” ที่เก่งรอบด้าน และสามารถนำทักษะที่หลากหลายมาใช้ ให้ก้าวหน้าในงาน ชีวิต และธุรกิจ

ซุมิตะ คัง เป็นคนญี่ปุ่นคนแรกที่ทำงานในบริษัทการเงินเก่าแก่ 300 ปีของเยอรมนี
เขาได้สัมผัสวิธีคิดแบบเยอรมัน และนำมาเทียบกับข้อดีของญี่ปุ่น
เขาผสานสไตล์ทั้ง 2 เข้าด้วยกัน เกิดเป็นแนวทางที่มหัศจรรย์ในหนังสือคิดแบบเยอรมัน ทำแบบญี่ปุ่น

พบกับศิลปะการเพิ่ม Productivity ที่รวมทั้งเยอรมันและญี่ปุ่น ตั้งแต่วิธีคิด การสื่อสาร การบริหารเวลา การทำงานเป็นทีม ไปจนถึงการใช้ชีวิต
ซึ่งจะช่วยคุณสร้างผลงาน และมีความสุขในชีวิตมากขึ้น

บทความอื่นเกี่ยวกับผู้นำที่คุณอาจสนใจ

  •  ผู้นำต้องกินคนสุดท้าย “Leaders Eat Last” จะสอนให้คุณเป็นผู้นำที่คนรอบตัวรักใคร่ สร้างองค์กรและธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ทั้งหมดเริ่มจากการกินคนสุดท้าย
  • ใน Start with Why ไซมอน ซิเน็ค จะบอกคุณว่าผู้นำที่ยิ่งใหญ่สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนได้อย่างไร เขานำเสนอโมเดลง่ายๆ แต่ทรงพลังสำหรับผู้นำนักสร้างแรงบันดาลใจ ซึ่งเริ่มจากหัวใจหลักคือคำถามว่า “ทำไม?” ไซมอนยกแอปเปิล มาร์ติน ลูเธอร์ คิง และพี่น้องตระกูลไรท์เป็นตัวอย่าง
  • สิ่งสำคัญจริงๆ ที่จะทำให้คุณประสบความสำเร็จและมีความสุข คือทักษะด้านอารมณ์ หรือ “EQ” … ไม่ใช่ความฉลาดที่วัดได้จากการทำข้อสอบ IQ โดยหนังสือ Emotional Intelligence จะช่วยให้คุณรู้จัก EQ ของตัวเองและประสบความสำเร็จได้เหนือกว่าคน IQ 180 เสียอีก
  • กระทั่งบริษัทระดับโลกอย่างกูเกิลเอง ก็บริหารโดยให้ความสำคัญกับคนเป็นหลัก How Google Works เป็นวิธีทำธุรกิจที่อดีต CEO ของกูเกิล เอริค ชมิตต์ เขียนด้วยตัวเอง เพื่อสอนการทำธุรกิจที่เน้นคนเก่งเป็นหลัก
  • ทำไมคุณเก่งแล้วแต่ไม่ก้าวหน้าเสียที? คุณอาจกำลังทำผิดพลาดแบบในหนังสือ What Got You Here Won’t Get You There ที่คนเก่งจำนวนมากติดกับดับจนรุ่นน้องแซงหน้าไปหมด … แค่คุณปรับนิสัยเพียงนิดเดียวก็จะประสบความสำเร็จกว่าเดิม 10 เท่า

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก