“วิกฤติชีวิต” มักมาแบบไม่ทันตั้งตัว มันทั้งโหด เจ็บปวด และรวดเร็ว วิกฤติจะทำให้คุณรู้สึกอยากนอนค้างบนเตียงตอนเช้า คุณจะเบื่ออาหาร เครียด กลัว สมองปิดทำการ ไม่อยากทำอะไรทั้งสิ้น
แต่อย่าลืมว่าชีวิตต้องเดินต่อไป วิกฤติคือช่วงเวลาสำหรับการพัฒนาตัวเอง คุณท้อแท้ได้แต่ห้ามท้อถอย วันนี้ผมจึงขอเสนอ “วิธีเพิ่ม Productivity ในช่วงเวลาวิกฤติ” ให้ชีวิตของคุณก้าวไปข้างหน้าในช่วงเวลาที่ย่ำแย่ที่สุด
เพชรไม่ได้ก่อตัวขึ้นมาเอง แต่เกิดจากแรงกดดันที่ร้อนระอุ
ดินเหนี่ยวต้องถูกทุบตี จึงขึ้นรูปได้อย่างสมบูรณ์
มะนาวต้องถูกขยี้ จึงกลายเป็นน้ำมะนาวแสนอร่อย
ถึงคุณจะเจอเรื่องร้ายแค่ไหน สุดท้ายมันก็จะผ่านไป และผมเชื่อว่ามันจะกลายเป็นบทเรียนสำคัญที่ช่วยให้คุณเข้มแข็งขึ้นแน่นอนครับ
อย่ากังวลเรื่องที่คุณควบคุมไม่ได้
คุณกำลังเสียเวลาเปล่าถ้าคุณหวังว่าเศรษฐกิจจะดี นายกจะเปลี่ยนคน หรืออดีตจะเปลี่ยนแปลง เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องที่คุณควบคุมได้ ไม่ว่าคุณจะวิตกถึงเรื่องเหล่านี้เท่าไร คุณก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงความจริงได้ ยิ่งคิดคุณยิ่งเครียด เอาเวลาไปทำสิ่งที่คุณ “เปลี่ยนแปลงได้” จะดีกว่า
เวลาคุณพบเจอปัญหา ก้าวแรกคือการวิเคราะห์ว่า “อะไรควบคุมไม่ได้” แล้วตัดมันออกไปจากสมองทันที จากนั้นให้คุณคิดหาทางออกให้กับสิ่งที่คุณพอจะลงมือแก้ได้
อะไรที่คุณควบคุมไม่ได้ ให้มองมันเป็น “ข้อเท็จจริง” คนจำนวนมากหนักใจกับข้อเท็จจริงที่พวกเขาแก้ไม่ได้ แต่คุณไม่ควรเสียเวลากับพลังงานไปกับมัน
เอาเวลามาพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น เอาเวลามาแก้ปัญหาที่พอทำอะไรได้ดีกว่าครับ
คุณไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงอะไรมาก แค่ทำสิ่งที่เป็นอยู่ให้ดีขึ้นทุกวัน ถ้าคุณทำชีวิตให้ดีขึ้นเพียงวันละ 1% เมื่อเวลาผ่านไป 365 วัน ชีวิตของคุณจะดีขึ้น 1.01^365 = 38 เท่า
คุณไม่สามารถแก้ความผิดพลาดที่ผ่านมาแล้ว จงเรียนรู้จากมัน นำมันมาเป็นบันไดให้อนาคตดีขึ้นแทนที่จะวิตกกังวล
กล้าออกจาก Comfort Zone
ผมไม่ควรใช้คำว่า “ออกจาก Comfort Zone” เพราะที่จริงผมหมายถึง “กล้าปรับตัว”
วันที่ 11 กันยายน 2001 กลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงได้ก่อการร้ายจี้เครื่องบินแล้วพุ่งชนตึก World Trade Center ใจกลางนิวยอร์ก คนจำนวนมากในตึกได้ยินเสียงเครื่องบินชน สัมผัสได้ถึงแรงปะทะที่รุนแรง และได้ยินกระทั่งประกาศเตือนภัยให้อพยพ แต่หลายคนยังคงทำงานต่อไปราวกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น จนกระทั่งตึกถล่มลงมา
คนเราเมื่อเผชิญเหตุการณ์คับขัน มักทำสิ่งที่เราคุ้นเคยต่อไป แม้ลึกๆ เราจะรู้ว่ามันไม่ได้ผลก็ตาม
มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดทำวิจัยพบว่า บริษัท 80% ทำธุรกิจด้วยวิธีที่ล้าสมัย แต่ยังคงทำต่อไป เพราะไม่อยากเปลี่ยนแปลง
คนเราเมื่อเจออุปสรรค เรามักตัวแข็ง ไม่กล้าขยับมากนัก นี่เป็นวิวัฒนาการสมัยที่คนเราอยู่ในป่า เราจะอายุสั้นถ้าวิ่งหนีจากฝูงหมาป่าหรือเสือดาว เราจึงมีแนวโน้มอยู่นิ่งเมื่อตกใจกลัว แต่สัญชาติญาณนี้กลับเป็นผลเสียในสังคมสมัยใหม่ ที่โลกหมุนเร็วขึ้นทุกวัน
ช่วงเวลาที่ชีวิตเผชิญวิกฤติ คือเวลาที่ดีที่สุดในการเปลี่ยนแปลงตัวเอง ให้คุณลองมองสถานการณ์จากมุมที่ต่างออกไป คิดถึงความเป็นไปได้อื่น กระทั่งความเป็นไปได้ที่คุณอาจเข้าใจผิด
ยิ่งคุณคิดนอกกรอบและกล้าออกจาก Comfort Zone คุณยิ่งพบเจอเส้นทางชีวิตใหม่ๆ คนที่ประสบความสำเร็จมักค้นพบจุดเปลี่ยนชีวิตในจังหวะแบบนี้นี่แหละครับ
ไดโนเสาร์ทั้งตัวใหญ่และแข็งแรง แต่ตอนนี้กลับสูญพันธุ์ไป เพราะสิ่งมีชีวิตที่อยู่รอดไม่ใช่ตัวที่แข็งแกร่งที่สุด หรือฉลาดที่สุด แต่เป็นสิ่งมีชีวิตที่ปรับตัวได้ดีที่สุดต่างหาก
มองโลกในแง่ดี
สมมุติว่าคุณตกงาน คุณสามารถมองมันได้ 2 แง่
- ทางแรก คุณมองว่าโลกมันห่วยสิ้นดี ทำไมเรื่องแย่แบบนี้ต้องเกิดกับคุณ แล้วคุณก็เสียใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น
- อีกทาง คุณมองว่างานเดิมก็ไม่ได้ดีอะไรหรอก นี่เป็นโอกาสที่ดีในการหางานใหม่ที่ท้าทายกว่าเดิม คุณมองว่าออกจากงานนี้ก็ดีเหมือนกัน จะได้เจองานใหม่ที่ดีกว่า เจ้านายที่ดีกว่า เพื่อนร่วมงานที่ดีกว่า นี่จะเป็นจุดเปลี่ยนที่ดีในชีวิต
อันที่จริง ไม่ว่าคุณจะมองแบบไหน คุณก็ยังตกงานอยู่ดี แต่ถ้าคุณเลือกทางแรก คุณจะจมอยู่กับความเสียใจ และมองไม่เห็นโอกาสดีๆ ที่ผ่านเข้ามาระหว่างทาง ในทางกลับกัน คนที่คิดแบบสองจะลุกขึ้นมาได้เร็ว ยิ้มแย้มแจ่มใส จึงดึงดูดคนให้ชื่นชอบ และพบงานใหม่ที่ดีกว่า
วิกฤติและอุปสรรคในชีวิตล้วนทำให้เราเสียใจ แต่อย่าปล่อยให้มันทำลายคุณ จงมองโลกในแง่ดีแล้วก้าวข้ามมัน
วิลเลียม สโตน เป็นเด็กกำพร้าขายหนังสือพิมพ์ตามถนน แต่เขาไม่ได้มองชีวิตวัยเด็กเป็นอุปสรรค เขาก่อตั้งบริษัทประกัน และสอนให้พนักงานพูดว่า “ดีจัง…” เวลาเจอปัญหา จากนั้นคนพูดต้องมองหาข้อดีของสถานการณ์ให้ได้
ผลคือ บริษัทโตอย่างรวดเร็ว ทำให้วิลเลียม สโตน กลายเป็นมหาเศรษฐีหมื่นล้าน
เมื่อคุณเจอปัญหาในชีวิต ให้ลองมองมันในแง่ดี แล้วนำมันมาช่วยให้คุณดีขึ้น อย่าปล่อยให้มันทำร้ายคุณ
อย่าให้อารมณ์ควบคุมการตัดสินใจ
เวลาเราเครียดหรือกลัว เราจะเลิกใช้เหตุผล แล้วปล่อยให้อารมณ์เข้ามาตัดสินใจ
แต่อารมณ์ไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น คุณควรวิเคราะห์สถานการณ์อย่างเยือกเย็น แล้วค่อยๆ คิดแก้ปัญหา
ลองถามคำถามเหล่านี้กับตัวเอง
- เกิดอะไรขึ้น? ปัญหานี้เกิดได้อย่างไร?
- พอจะทำอะไรให้ดีขึ้นได้บ้าง?
- จะเรียนรู้จากมันอย่างไร?
กุญแจสำคัญคือ ใจเย็นๆ ค่อยๆ คิด คุณอาจปรึกษาคนรอบข้าง แล้วคุณจะพบว่าคุณมีทางเลือกมากกว่าที่คิด!
อย่าหยุดนิ่ง
ทำอะไรก็ได้ แต่อย่าหยุดนิ่งครับ
หลายคนเวลาเจอปัญหา จะนั่งคิดวิธีแก้ แล้วก็ไถเฟซบุ๊กเล่น แล้วค่อยคิดต่อ… แต่สุดท้ายได้แต่คิด ไม่ได้ทำอะไร
การทำแบบนี้ทำให้คุณรู้สึกดี เพราะเวลาคุณได้คิด คุณจะรู้สึกเหมือนได้ทำอะไรสำเร็จสักอย่าง แต่มันไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้นจนกว่าคุณจะลงมือทำ
คุณคิดวิเคราะห์นั่นดีแล้วครับ คุณจะไปปรึกษาคนอื่นก็ดี แต่อย่าหยุดแค่นั้น คุณต้องนำสิ่งที่คิดไปลงมือทำต่อด้วย! อย่าลืมว่าคุณต้องลงมือทำจึงจะประสบความสำเร็จ การอยู่เฉยๆ ไม่ได้ช่วยอะไร ลองดูวิธีของผมในการลงมือทำครับ
- กำหนดเป้าหมายว่าคุณ “ต้องทำอะไรให้เสร็จ”
- แตกเป้าหมายใหญ่เป็นสิ่งที่ต้องทำย่อยๆ ในแต่ละวัน จนกว่าจะบรรลุเป้าหมาย
- ลงมือทำตามสิ่งที่วางแผนไว้
- ว่างๆ ก็มาทบทวนแล้วปรับแผนตามที่เหมาะสม
เพียงเท่านี้ ชีวิตคุณจะก้าวหน้าขึ้นทุกวัน และจะส่งผลงดงามในที่สุดครับ
แนะนำหนังสือดีๆ ที่คุณอาจสนใจ
ซุมิตะ คัง เป็นคนญี่ปุ่นคนแรกที่ทำงานในบริษัทการเงินเก่าแก่ 300 ปีของเยอรมนี
เขาได้สัมผัสวิธีคิดแบบเยอรมัน และนำมาเทียบกับข้อดีของญี่ปุ่น
เขาผสานสไตล์ทั้ง 2 เข้าด้วยกัน เกิดเป็นแนวทางที่มหัศจรรย์ในหนังสือคิดแบบเยอรมัน ทำแบบญี่ปุ่น
พบกับศิลปะการเพิ่ม Productivity ที่รวมทั้งเยอรมันและญี่ปุ่น ตั้งแต่วิธีคิด การสื่อสาร การบริหารเวลา การทำงานเป็นทีม ไปจนถึงการใช้ชีวิต
ซึ่งจะช่วยคุณสร้างผลงาน และมีความสุขในชีวิตมากขึ้น
คนส่วนใหญ่ชอบศึกษาหาข้อมูล วางแผนให้ดีก่อนลงมือทำ …แต่นั่นทำให้พวกเขาไม่พร้อมสักที จนไม่ได้ทำอะไรเลย!
ในหนังสือคนชนะทำแล้วแก้ คนแพ้มัวแต่คิดไม่ได้ทำ เขาจะสอนเทคนิค “ทำไปก่อนเดี๋ยวดีเอง” ให้คุณสร้างผลงานที่ยอดเยี่ยมขึ้น จำนวนมากขึ้น ในเวลาที่สั้นลง
ทั้งเรียนหนังสือ ทำงาน บริหารเงิน สร้างคอนเน็คชั่น และนำเสนอตัวเอง คุณสามารถนำแนวทางนี้มาใช้พัฒนาชีวิตในทุกแง่มุม
หนังสืออีกเล่มที่จะมาแนะนำเทคนิคดีๆ ที่ช่วยให้คุณรู้จักบริหารเวลาให้เก่งไม่แพ้ใครนั่นก็คือ “แค่ใช้เวลาเป็น ไม่ต้องเก่งก็ไปได้ไกลกว่า” ของเควิน ครูซ หนังสือเล่มนี้จะมาเผยความลับการบริหารเวลาของมหาเศรษฐี นักธุรกิจชื่อดัง นักกีฬาโอลิมปิก และนักเรียนเกรดเอให้คุณจนหมดเปลือก
บทความอื่นๆ ที่คุณอาจชอบไม่แพ้กัน
- ความสำเร็จเกิดจากสิ่งเล็กๆ ที่คุณทำทุกวัน ลองอ่านสรุปหนังสือ Atomic Habits จะสอนให้คุณเปลี่ยนนิสัยเล็กๆ น้อยๆ แล้วคุณจะพบผลลัพธ์ที่น่าทึ่ง โดยคุณไม่จำเป็นต้องหักดิบหรือลุกขึ้นมาปฏิวัติตัวเอง สิ่งที่คุณต้องทำแค่เปลี่ยนแปลงนิสัยเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น ดีกรีของหนังสือเล่มนี้ไม่ธรรมดา เพราะตั้งแต่เริ่มวางขายเมื่อปี 2018 หนังสือก็ฮิตติดชาร์ทในหลายสำนัก เช่น Wall Street Journal, USA Today และ Publisher’s Weekly
- ถ้าคุณอยากอ่านเนื้อหาเกี่ยวกับนิสัยในการทำงานบิงโกยังได้ทำสรุปหนังสือเรื่อง What Got You Here Won’t Get You There ที่จะมาแนะนำวิธีดีๆ ในวางตัวเวลาทำงานให้กับคุณ
- ถ้าคุณอยากสร้างนิสัยใหม่ในตอนเช้าแล้วอยากรู้ว่าคนเก่งๆ เขาชอบทำอะไรกัน บิงโกขอแนะนำ What the Most Successful People Do Before Breakfast หนังสือที่จะช่วยแนะแนวทางการวางแผนเวลาในช่วงเช้าทั้งวันหยุดและวันทำงาน เพื่อให้คุณทำงานได้ดีขึ้นและมีความสุขมากขึ้น
- Getting Thing Done เป็นหนังสืออีกเล่มที่เปรียบเหมือนคัมภีร์สำหรับคนที่อยากเพิ่ม Productivity แถมดีกรีของนักเขียนยังยอดเยี่ยมมากด้วย เพราะเดวิด อัลเลน ทำงานเป็นที่ปรึกษาและโค้ชด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับผู้บริหารชั้นนำมาแล้วนานกว่า 30 ปี