“ต้นทุนค่าเสียโอกาส” คืออะไร ทำไมคุณอาจขาดทุนไม่รู้ตัว

“ต้นทุนค่าเสียโอกาส” (Opportunity Cost) อยู่กับคุณตลอดเวลา ทุกครั้งที่คุณตัดสินใจ

ถ้าผมให้คุณนั่งเก็บเห็ดนาน 10 ชั่วโมง แล้วสัญญาว่าจะจ่ายเงินคุณ 1 แสนบาท คุณอาจตอบ ok แล้วก็ไปนั่งเก็บเห็ด

แต่ถ้าผมให้เจฟ เบซอส ผู้ก่อตั้งบริษัท Amazon ที่มีทรัพย์สิน 6 ล้านล้านบาทและร่ำรวยที่สุดในโลกไปเก็บเห็ด เขาคงไม่ทำ

นั่นเพราะเขามี “ค่าเสียโอกาส” ที่สูงมากในการไปเก็บเห็ด

วันนี้เราจะไปดูกันครับว่าค่าเสียโอกาสคืออะไร และเรากำลังใช้ชีวิตโดยเสียโอกาสดีๆ ไปหรือเปล่า

 

ค่าเสียโอกาส ต้นทุนที่คุณจ่ายโดยไม่รู้ตัว

"ต้นทุนค่าเสียโอกาส" คืออะไร 1

ไม่ว่าจะตัดสินใจเรื่องอะไร คุณมีตัวเลือกเสมอ

ถ้าคุณตัดสินใจไปกินไก่ KFC คุณจะเสียเงินจำนวนหนึ่ง และเสียเวลาอีกหนึ่งชั่วโมงเพื่อกินไก่

แต่เวลาที่คุณเสียไป คือเวลาที่คุณไม่ได้ไปนอนเล่นอยู่บนโซฟา ไม่ได้ดูซีรี่ส์เรื่องโปรด ไม่ได้ไปทำงานพิเศษหารายได้เสริม และไม่ได้มาอ่านบทความพัฒนาตัวเองของบิงโก

ดังนั้นไม่ว่าคุณจะเลือกทำอะไร ก็จะมีสิ่งอื่นที่คุณไม่ได้ทำอยู่เสมอ

ถ้าคุณเลือกทำงาน A คุณก็ไม่สามารถทำงาน B และไม่มีโอกาสได้รับรายได้จากงาน B

หรือถ้าตอนเข้ามหาวิทยาลัยคุณตัดสินใจเรียนคณะ A คุณก็จะไม่ได้เรียนคณะ B และมีค่าเสียโอกาสที่ไม่ได้เรียนคณะ B

ค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) คือมูลค่าของทางเลือกอันดับสองที่คุณไม่ได้เลือก

ยิ่งคุณมีทางเลือกดีๆ มากเท่าไรในชีวิต ค่าเสียโอกาสของคุณก็ยิ่งสูงตามครับ

 

บุฟเฟต์ปิ้งย่าง vs เรือยอทช์ ราคาเท่ากัน

"ต้นทุนค่าเสียโอกาส" คืออะไร 2

ก่อนที่คุณจะไปกินบุฟเฟต์ปิ้งย่างแสนอร่อยที่วางแผนไว้ ขอให้หยุดอ่านก่อนครับ

เพราะบุฟเฟต์ของคุณ ราคาอาจเท่าเรือยอทช์ก็ได้

สมมติว่าคุณจ่ายเงิน 350 บาทไปกินบุฟเฟต์ปิ้งย่างวันนี้ นั่นคือเงิน 350 บาทที่คุณจะไม่มีวันได้เห็นอีกตลอดชีวิต

เงิน 350 บาทนี้มีค่าแค่ไหน?

ถ้าคุณเอา 350 บาทไปลงทุนได้ 30% เงินก้อนนี้จะเติบโตเป็น 455 บาทในปีถัดไป

ถ้าคุณเอาไปลงทุนได้ปีละ 30% เมื่อเวลาผ่านไป 50 ปี เงินก้อนนี้จะเติบโตเป็น

350, 455, 590, 770, 1000, 1300, 1690, 2200, …, 174 ล้านบาท

แสดงว่าถ้าคุณเอาเงิน 350 บาทที่จะกินปิ้งย่างไปลงทุนวันนี้ พอเงินเติบโตขึ้นในอีก 50 ปีข้างหน้า มันก็สามารถกลายเป็นเงินก้อนโตมูลค่า 174 ล้านบาท ซื้อได้กระทั่งเรือยอทช์เลย

ใช่แล้วครับ ผมรู้ว่าคุณจะพูดอะไร

คนทั่วไปคงลงทุนได้ไม่ถึง 30% ต่อปี และการลงทุนติดต่อกัน 50 ปีก็ยาวนานมาก

แต่คุณก็เห็นแล้วว่าเงินแค่ไม่กี่ร้อย ถ้าคุณเอาไปใช้ให้งอกเงย ต่อเนื่องติดต่อกัน มันก็เติบโตเป็นเงินก้อนโตได้

คุณอาจไม่ได้เอาเงินนั้นไปลงทุนในตลาดหุ้น แต่ไปลงทุนกับตัวเอง เรียนรู้ทักษะใหม่ หรือฝึกภาษาอังกฤษ

คุณอาจเอาเงินนั้นไปทำความรู้จักคนใหม่ๆ เป็นคอนเน็คชั่นที่จะช่วยเหลือกันในอนาคต

สิ่งเหล่านี้วัดเป็นตัวเงินได้ยากก็จริง แต่ผมเชื่อว่าผลตอบแทนของคุณจะสูงหลายเท่า มากยิ่งกว่าตัวเลขสมมุติของผมเสียอีก

 

ปริญญาเอกหนึ่งใบ จ่ายไปกี่ล้าน

"ต้นทุนค่าเสียโอกาส" คืออะไร 2
ปริญญาเอกมีค่าเสียโอกาสแฝงอยู่

คนไทยชอบเรียนปริญญาเอก เพราะเราเชื่อกันว่ามันจะช่วยให้ชีวิตของเราเจริญรุ่งเรือง

แต่ก่อนคุณจะตัดสินว่าการเรียนปริญญาเอกคือยาวิเศษพานาเคียที่จะทำให้ชีวิตดีขึ้น 100% ผมขอให้คุณคิดดูใหม่

เพราะปริญญาใบนี้ ค่าเสียโอกาสมันสูงไม่เบา

ปริญญาเอกหนึ่งใบใช้เวลาเรียน 3-5 ปี สมมติว่าคุณใช้ 4 ปี นั่นคือเวลา 48 เดือนที่คุณจะไม่ได้รับเงินเดือน

ถ้าสิ้นปีคุณได้โบนัส 2 เดือน เงินเดือนที่คุณเสียไปจะกลายเป็น 56 เดือนที่หายไป

คนที่เงินเดือน 25,000 จะสูญเงินไป 1.4 ล้าน

คนที่เงินเดือน 50,000 จะสูญเงินไป 2.8 ล้านกับค่าเสียโอกาสในการเรียนปริญญาเอก

คุณอาจบอกผมว่าปริญญาเอกจะช่วยให้เงินเดือนสูงขึ้น

สมมติว่ามันทำให้เงินเดือนคุณสูงขึ้นจริงหนึ่งหมื่นบาท คุณจะต้องใช้เวลาอีก 280 เดือนในการถอนทุนคืน คิดเป็น 23.3 ปี ซึ่งผมปัดลงให้เหลือ 20 ปีละกัน

นี่ไม่นับรวมค่าใช้จ่ายในการเรียน บางคนเรียนในประเทศก็ถูกหน่อย บางคนเรียนต่างประเทศก็บวกไปอีกหลายล้าน หรือคิดเป็นเวลาอีกหลายสิบปีที่เงินเดือนที่เพิ่มมาจะชดเชยได้

คุณอาจบอกว่า “20 ปีคืนทุนก็คุ้มค่า เพราะมันจะติดตัวเราไปตลอดชีวิต”

แต่เงินที่คุณเสียไป 2.8 ล้าน ก็คือเงินที่คุณจะไม่ได้เจออีกตลอดชีวิตเช่นกัน

2.8 ล้าน ถ้าคุณลงทุนได้ปีละ 20% ติดต่อกัน 20 ปี คิดหยาบๆ ก็จะเป็น 107 ล้านบาท (ถ้าคิดละเอียด จะต้องแยกปีคิดด้วย เพราะเราทยอยได้เงินเดือน แต่ขอให้คุณเข้าใจภาพรวมก็พอครับ)

นั่นคือเงินจำนวนที่ไม่ว่าคุณจะล่าปริญญาเอกกี่สิบใบ ทำงานอีกกี่สิบปี ก็หาไม่ได้ง่ายๆ

นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมคนผัดก๋วยเตี๋ยวขายบางคนจึงร่ำรวยกว่าด็อกเตอร์ปริญญาเอก

เพราะแม้เขารายได้ไม่สูง เขาก็มีแต้มต่อ เพราะสร้างตัวเร็วกว่า เขาจึงจ่าย “ค่าเสียโอกาส” น้อยกว่า

คนที่สร้างตัวเร็วกว่า ถ้าเขารู้จักเอาเงินไปลงทุนต่อยอดให้งอกเงย ต่อให้รายได้ไม่สูง ก็สร้างความมั่งคั่งได้อย่างน่ามหัศจรรย์ครับ

 

เรียนคอร์สลงทุน “นักลงทุนมือหนึ่งของโลก”

คอร์สลงทุน บิงโก นักลงทุนระดับโลก

อยากศึกษาเรื่องการลงทุนแต่เริ่มไม่ถูก?

บิงโกมีคอร์สสอนลงทุนที่จะคุณอาจสนใจ สอนตั้งแต่พื้นฐานจนถึงขั้นสูง เรียนจบพร้อมลงทุนจริงได้เลย เหมือน “นักลงทุนระดับโลกมาสอนคุณเอง”และจะร่นเวลาให้คุณลงทุนได้เก่งกาจอย่างรวดเร็ว

ดูรายละเอียด

 

ค่าเสียโอกาสในบัตรสตาร์บัคส์

"ต้นทุนค่าเสียโอกาส" คืออะไร 3

สตาร์บัคส์มีบัตรสมาชิกให้เราใส่เงินเข้าไปเก็บได้ แล้วพอเราใช้เงิน ก็จะสะสมแต้ม เราสามารถเอาแต้มไปแลกของได้

ดูเผินๆ แล้วคุณมีแต่ได้กับได้ในการใช้บัตรสตาร์บัคส์

แต่อย่าชะล่าใจไปครับ…ทุกสิ่งมี “ค่าเสียโอกาส” ซ่อนอยู่เสมอ

ผลปรากฏว่ามีคนเอาเงินมาเก็บไว้ในบัตรสตาร์บัคส์ปริมาณมหาศาล

มีเงินในบัตรสตาร์บัคส์เยอะขนาดที่ว่า สตาร์บัคส์ไม่จำเป็นต้องกู้ธนาคารอีกต่อไป ยืมจากสมาชิกเอานี่แหละ ง่ายดี!

สตาร์บัคส์ไม่ต้องเสียดอกเบี้ย เพราะไม่มีกฎว่าสตาร์บัคส์จะจ่ายดอกเบี้ยให้คุณเวลานำเงินมาใส่ในบัตรสมาชิก

สตาร์บัคส์จึงขยายธุรกิจได้ง่ายดายด้วยเงินที่สมาชิกฝากไว้ ถึงขนาดที่เคยมีการถกเถียงว่าจะเอาเงินนั้นไปปล่อยกู้แข่งกับธนาคารเลยทีเดียว

แต่เมื่อมีคนได้ ก็ต้องมีคนเสีย

ถ้าสตาร์บัคส์มีเงินหล่นจากฟ้าให้ใช้ฟรีโดยไม่เสียดอกเบี้ย ก็ต้องมีคนที่แบกต้นทุนดอกเบี้ยไว้

คนเหล่านั้นก็คือพวกเราที่เอาเงินไปฝากไว้กับสตาร์บัคส์นี่แหละครับ

เงินที่คุณเก็บไว้ในบัตร คือเงินที่คุณจะไม่ได้ดอกเบี้ย

ถ้าคุณเก็บเงินไว้กับสตาร์บัคส์ 3000 บาท ค่าเสียโอกาสของคุณจะขึ้นอยู่กับคุณเอาเงินนั้นไปทำอะไรได้บ้าง

ถ้าคุณเอา 3000 บาทไปฝากธนาคาร ค่าเสียโอกาสของคุณคือ 1.5% หรือ 45 บาทต่อปี

ถ้าคุณเอา 3000 บาทไปลงทุนได้ 10% ค่าเสียโอกาสของคุณคือ 300 บาทต่อปี

ถ้าคุณเอา 3000 บาทไปลงทุนได้ 20% ค่าเสียโอกาสของคุณคือ 600 บาทต่อปี

ค่าสมาชิกปีละ 600 บาท ไม่ใช่เล่นๆ ใช่ไหมละครับ

 

ขาดทุนไปแค่ไหนกับการออมเงิน

"ต้นทุนค่าเสียโอกาส" คืออะไร 4

หลายคนเก็บเงินได้ก็เอาไปฝากธนาคาร รับดอกเบี้ย 1.5% ต่อปี

แต่การเอาเงินไปฝากธนาคาร คุณกำลังจ่ายค่าเสียโอกาส 2 ต่อเลยทีเดียว

ต่อแรกคือเงินเฟ้อ เงินที่เราเก็บไว้ในธนาคารจะถูก “เงินเฟ้อ” กัดกินไปเรื่อยๆ โดยเราไม่รู้ตัว เพราะข้าวของราคาแพงขึ้นทุกวัน ต่อให้คุณเก็บเงินไว้เฉยๆ เงินที่คุณเก็บไว้นั้นก็จะซื้อของได้น้อยลง

ค่าเสียโอกาสต่อที่สองคือการที่คุณไม่ได้นำเงินนั้นไปลงทุนให้งอกเงย

ถ้าคุณเอาเงิน 1 ล้านบาทให้คนสองคน คนแรกเอาเงินนั้นไปลงทุนได้ปีละ 15% ส่วนคนที่สองเอาเงินไปฝากธนาคารได้ปีละ 1.5%

พอผ่านไป 30 ปี คนแรกจะมีเงิน 66 ล้าน คนที่สองจะมี 1.5 ล้าน

ค่าเสียโอกาสของคุณคือ 64.5 ล้าน หรือคิดเป็น 43 เท่าของเงินที่ฝากธนาคารได้

สังเกตว่าคนที่ลงทุน vs ไม่ลงทุนนั้นชีวิตต่างกันมาก ค่าเสียโอกาสจากการฝากธนาคารนั้นแก้ง่ายที่สุดแล้วครับ เพียงแค่คุณเริ่มต้นลงทุนเดี๋ยวนี้ โดยบิงโกได้มีบทความให้คุณเริ่มต้นลงทุนได้ง่ายๆ แล้ว สามารถติดตามอ่านได้เลย

 

ลงทุนวันนี้ อย่าปล่อยให้ค่าเสียโอกาสกัดกินคุณไปเรื่อยๆ

สรุปว่า ค่าเสียโอกาสนั้นเกิดจากการที่เราไม่ได้ลงทุน ไม่ว่าจะเกิดจากเราเอาเงินไปใช้ ไปเรียน ไปเก็บ หรืออะไรก็แล้วแต่

ดังนั้น ถ้าคุณไม่อยากถูกค่าเสียโอกาสเอาเปรียบ คุณก็ควรเร่มต้นลงทุนให้เร็ว ซึ่งนอกจากจะเป็นการทำให้เงินงอกเงยแล้ว ยังช่วยให้คุณได้เรียนรู้เกี่ยวกับการบริหารเงินไปด้วย

ถ้าคุณเพิ่งหัดเริ่มต้นลงทุน หรือกำลังสนใจอยากเริ่ม คุณสามารถอ่านขั้นตอนเริ่มลงทุนง่ายๆ ที่ผมสรุปไว้ให้แล้วได้เลยครับ

นอกจากนี้ ลองอ่านวิธีลงทุน 4 สไตล์ในโลกเพื่อหาแนวทางที่เหมาะกับตัวเอง โดยวิธีที่ผมแนะนำคือการลงทุนแนวเน้นคุณค่าหรือ VI ซึ่งเป็นสไตล์ที่นิยมที่สุด

คุณยังอาจเข้าไปดูเทคนิควิเคราะห์งบการเงินสำหรับมือใหม่ครับ หรือถ้าคุณอยากหาหนังสือหุ้นมาอ่านเพิ่มเติม ผมได้ลิสต์หนังสือดีๆ ไว้ให้คุณอ่านเรียบร้อยแล้ว

 

เริ่มต้นลงทุนหุ้นต่างประเทศเพื่อโอกาสที่ดีกว่า

"ต้นทุนค่าเสียโอกาส" คืออะไร 5

ต้นไม่ที่ร่มรื่นย่อมเริ่มจากเมล็ดพันธุ์ที่ดี การลงทุนที่ดีจึงอยู่ในเศรษฐกิจที่มีการเจริญเติบโต มีนวัตกรรม และมี dynamics สูง

แต่ปัจจุบันเศรษฐกิจไทยเติบโตช้าลงมาก คนไทยเกิดน้อยลง สังคมกำลังจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุ ใครที่มีความรู้เรื่องเศรษฐกิจจะพอรู้ว่า “มืดมน” นักลงทุนไทยจำนวนมาก โดยเฉพาะเซียนหุ้นที่เข้าใจเรื่องนี้ จึงเริ่มเลี่ยงไปลงทุนต่างประเทศกันมากขึ้น

ถ้าคุณอยากหาโอกาสที่ดีที่สุดให้ตัวเอง คุณเองก็อาจศึกษาการลงทุนต่างประเทศมากขึ้น แล้วคุณจะพบว่าโอกาสดีๆ มีอยู่มาก ผมมีบทความสอนวิธีลงทุนหุ้นอเมริกา หุ้นต่างประเทศให้คุณแล้ว (คุณจะได้หุ้นฟรีมูลค่าสูงสุด $1000 ด้วย)

สำหรับคนที่คิดว่าการลงทุนหุ้นต่างประเทศไกลตัวเกินไป อยากซื้อกองทุนให้เขาไปลงทุนหุ้นต่างประเทศแทนเรา นั่นก็เป็นทางเลือกที่ดีมากครับ แต่ก่อนหน้านั้น ผมแนะนำให้อ่าน ซื้อกองทุนต่างประเทศยังไง ให้กำไรมากขึ้น 100% ซึ่งผมเขียนไว้ให้คุณโดยเฉพาะเลยครับ

 

เรียนคอร์สลงทุน “นักลงทุนมือหนึ่งของโลก”

คอร์สลงทุน บิงโก

อยากศึกษาเรื่องการลงทุนแต่เริ่มไม่ถูก?

บิงโกมีคอร์สสอนลงทุนที่จะคุณอาจสนใจ คอร์สนี้จะสอนคุณตั้งแต่พื้นฐานจนถึงระดับสูง มือใหม่เรียนจบก็พร้อมลงทุนจริงได้เลย

คอร์สนี้ถูกออกแบบให้พิเศษกว่าคอร์สลงทุนทั่วไป เพราะมาจากหนังสือลงทุนของเซียนหุ้นระดับโลก ทั้งวอร์เรน บัฟเฟตต์, ปีเตอร์ ลินช์, เบนจามิน เกรแฮม, ดร.นิเวศน์ และอื่นๆ จนเหมือน “นักลงทุนระดับโลกมาสอนคุณเอง” ทุกเล่มที่เราคัดมาคือหนังสือลงทุนที่ดีที่สุด ซึ่งได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่าเป็น “ของจริง” และจะร่นเวลาให้คุณลงทุนได้เก่งกาจอย่างรวดเร็ว

ดูรายละเอียด

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก