สรุปหนังสือ How Google Works วิธีทำงานที่ CEO กูเกิลอยากสอนคุณ

How Google Works

สรุปหนังสือ How Google Works

ขอบคุณเนื้อหาจากหนังสือ How Google Works

หนังสือ How Google Works ถูกเขียนโดยคุณเอริก ชมิตด์ อดีต CEO ของกูเกิลที่สร้างบริษัทนี้ตั้งแต่แรกๆ จนเป็นยักษ์ใหญ่ของโลก และเขาได้เขียนหนังสือเล่มนี้เพื่อสอนวิธีทำธุรกิจให้คุณประสบความสำเร็จ

นอกจากกูเกิลแล้ว บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำยังมี Facebook, Amazon, Apple และ Netflix ครับ รวมเป็น 5 จตุรเทพ (แต่ “จตุ” แปลว่า 4!) โดยแต่ละบริษัทก็มีเส้นทางธุรกิจแบบของตัวเอง และคุณจะได้ข้อคิดดีๆ จากพวกเขาแน่นอน

ผมรู้ว่าคุณคิดอะไรอยู่ … กูเกิลเป็นบริษัทใหญ่โตระดับโลก วิธีทำธุรกิจแบบนี้คงไม่ได้ผลกับเราหรอก เพราะเราอยู่เมืองไทย อะไรๆ ก็ไม่เหมือนกัน ธุรกิจเราอาจไม่ใช่ธุรกิจสตาร์ทอัพแบบกูเกิลด้วยซ้ำ แถมเราไม่ได้มีเงินทุนเยอะแยะแบบนั้น

แต่ขอให้ใจเย็นลองอ่านสรุปหนังสือนี้ดูก่อนครับ แล้วคุณจะพบว่ากูเกิลไม่ได้คิดแบบนี้เพราะเขาเป็นบริษัทใหญ่ แต่เพราะเขาคิดแบบนี้ต่างหาก เขาจึงประสบความสำเร็จใหญ่โตขึ้นมาได้ และคุณเองก็นำวิธีคิดนี้มาสร้างธุรกิจของคุณได้เช่นกัน (ทิม เฟอร์ริส สร้างธุรกิจ 100 ล้านโดยทำงานแค่ 4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และเขาได้สอนวิธีนี้ใน The 4-Hour Workweek)

ความสำเร็จเกิดจากพนักงานชั้นยอด “Smart Creatives”

How Google Works
ออฟฟิศกูเกิลนั้นน่าอยู่ยิ่งกว่ารีสอร์ต

กูเกิลมีพนักงานประเภทหนึ่งที่เรียกว่า Smart Creatives ซึ่งคิดไอเดียใหม่ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง Smart Creatives ไม่ใช่แค่คนที่ “มีความคิดสร้างสรรค์” ธรรมดา แต่เขาต้องเข้าใจธุรกิจอย่างลึกซึ้ง เพื่อทำไอเดียให้เกิดเป็นธุรกิจได้จริง (วิธีคิดของกูเกิลข้อนี้คล้ายกับ Pixar และ Disney เลย! อ่านวิธีคิดของ Disney ต่อได้ที่ Creativity Inc.)

  • Smart Creatives คือคนที่ยอมอดหลับอดนอนเพื่อทำงานให้สำเร็จ (ถ้าคุณทำงานไม่เสร็จ แก้ไขได้โดยการอ่าน Getting Things Done) และกล้าคิดต่างเพราะเขาเชื่อว่าไอเดียของเขาดีกว่าหัวหน้าอย่างคุณ
  • ยิ่งบริษัทของคุณมี Smart Creatives เยอะเท่าไหร่ยิ่งดี กูเกิลไม่ได้ใหญ่โตขึ้นมาเพราะเจ้าของเป็นอัจฉริยะที่คิดนวัตกรรมล้ำยุคได้ทุกวัน แต่เพราะพวกเขาดึงดูดคนเก่งให้ทำงานด้วย และมอบโอกาสให้คนเหล่านั้นแสดงความสามารถได้เต็มที่ (คนเก่ง 1% ของโลกเขาพัฒนาตัวเองยังไง? คุณเองก็เก่งขนาดนั้นได้ ด้วยความลับในหนังสือ Outlier)

การทำแบบนี้ฟังดูง่าย แต่การบริหารให้เกิดขึ้นจริงนั้นยาก อย่างไรก็ตาม ถ้าบริษัทของคุณดึงดูดคนเก่งได้เยอะๆ มันย่อมคุ้มค่าครับ … ถ้าคุณสงสัยว่าคนเก่งๆ เขาทำงานกันแบบไหน ลองดูได้จากสรุปหนังสือ Deep Work ของบิงโกก็ได้ครับ

การเฟ้นหาคนเก่งคือสิ่งสำคัญที่สุด

How Google Works
การสัมภาษณ์สำคัญมาก

กูเกิลมองว่าหน้าที่ที่สำคัญที่สุดของผู้นำไม่ใช่การประชุมหรือวางกลยุทธ์ให้ดี แต่เป็นการค้นหา “คนเก่ง” มาทำงานด้วย (เห็นเขาพูดกันบ่อยมากว่า “ผู้นำ” ต้องอย่างโน้นอย่างนี้ ใครสงสัยว่าผู้นำคืออะไร เข้าไปดูได้ใน Leaders Eat Last)

  • Resume บอกไม่ได้ทั้งหมด คนเก่งจริงๆ ที่เรียกได้ว่าเป็น “Smart Creatives” ต้องคิดนอกกรอบเป็น ซึ่ง Resume มีเขียนแค่ลิสต์ประสบการณ์ทำงาน ไม่ได้บอกว่าคนคนนี้ทำงานจริงเป็นยังไง
  • ถามคำถามเพื่อให้รู้ตัวตนที่แท้จริงของเขาในการสัมภาษณ์งาน (ทำไมต้องถามว่า “ทำไม”? Start With Why) หาให้ได้ว่าเขาสนใจอะไร ชอบอะไรเป็นพิเศษ ลองยิงคำถามแปลกๆ ให้ตั้งตัวไม่ทัน เช่น “ถ้าย้อนกลับไปแก้ไขชีวิตตรงไหนก็ได้ จะย้อนกลับไปทำอะไร?”
  • เอริกมักถามตัวเองก่อนจ้างใครสักคนว่า “ถ้าต้องติดอยู่ที่สนามบินกับคนนี้ เขาจะหยิบเรื่องน่าสนใจมาคุยได้หรือเปล่า?”
  • ถ้าไม่เจอคนที่ดีจริงๆ ก็ไม่ต้องรีบจ้าง ถ้าจ้างคนผิดเดี๋ยวก็ต้องไล่ออกอยู่ดี

สร้างวัฒนธรรมที่ดึงดูดคนเก่ง

How Google Works
พนักงานมีอิสระในการคิดสิ่งใหม่

วัฒนธรรมองค์กรจะตัดสินความสำเร็จของธุรกิจคุณ (ธุรกิจส่วนใหญ่ปิดกิจการภายใน 3 ปีแรก เพราะพวกเขาเข้าใจผิดมหันต์เกี่ยวกับธุรกิจ ซึ่งคุณไม่จำเป็นต้องผิดพลาดถ้าอ่าน E-Myth Revisited มาก่อน) แต่บริษัทส่วนใหญ่มักปล่อยให้วัฒนธรรมก่อตัวขึ้นแบบตามมีตามเกิด หรือไม่ก็เขียนไว้ในกระดาษสักแผ่นแต่ไม่มีใครจำได้

อย่าทำแบบนั้นครับ เมื่อวัฒนธรรมก่อตัวขึ้นมาแล้ว คุณจะเปลี่ยนมันยากมาก วัฒนธรรมที่ย่ำแย่จะตามหลอกหลอนคุณไปทุกกระบวนการทำธุรกิจ คุณต้องพยายามสร้างมันให้ดีตั้งแต่แรก

ในปี 2002 แลร์ลี่ เพจ ผู้ก่อตั้งกูเกิลเห็นโฆษณาชิ้นหนึ่งบนเว็บกูเกิล เขาจึงปริ๊นมันออกมาแล้วติดไว้ในห้องครัวของบริษัทว่า “โฆษณานี่โคตรห่วย!” มีวิศวกรทีมหนึ่งเห็นโน้ตนั้นในวันศุกร์ ถึงทีมนั้นจะไม่ใช่คนดูแลโฆษณาชิ้นนั้นโดยตรง พวกเขาก็พยายามแก้ปัญหานี้ในวันหยุดเสาร์อาทิตย์ (“นอกเวลางาน”) วันจันทร์ถัดมาพวกเขาก็คิดทางแก้ได้สำเร็จ

บริษัทกูเกิลแทบไม่ได้ทำอะไรเลย พนักงานตั้งใจทำงานด้วยตัวเอง นั่นเพราะ “วัฒนธรรม” ของกูเกิลดึงดูดคนที่ชอบงานที่ท้าทายและได้ใช้ความคิดเข้ามาในบริษัท พนักงานไม่ได้มองว่าต้องได้เงินเดือนสูงถึงจะทำ แต่ทำเพราะได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และอยากทำเอง (พัฒนาตัวคุณเองเป็นคนที่ผู้อื่นชื่นชอบได้จากสุดยอดหนังสือคลาสสิค How to Win Friends and Influence People)

วัฒนธรรมแบบไหนดึงดูดคนเก่ง?

  1. คุยกับเพื่อนร่วมงานได้ง่าย ไม่มีการเมือง
  2. ทุกคนออกไอเดียได้อิสระ
  3. ทุกคนตัดสินใจเองได้โดยไม่มีระเบียบวุ่นวายมาควบคุม

ข้อ 3 สำคัญมาก คุณต้องให้โอกาสคนเก่งออกไอเดียและทำมันให้เป็นจริง หรือถ้าไม่ได้ คุณก็ควรบอกว่า “ทำไมไม่ได้” คุณจะรักษาคนเก่งไว้ไม่ได้ถ้าเขาไม่มีโอกาสทำเรื่องแปลกใหม่เลย

มีครั้งหนึ่งที่วิศวกรมือหนึ่งขอลาออก เอริก ชมิตด์ จึงให้เขามาร่วมประชุมกับทีมผู้บริหาร นั่นทำให้วิศวกรคนนั้นเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ในมุมธุรกิจ และได้ตัดสินใจเรื่องสำคัญ ความท้าทายนี้ทำให้เขาตกลงทำงานกับกูเกิลต่อไป (เจสัน ฟรายด์ ได้รวมวิธีคิดการทำธุรกิจสมัยใหม่มาไว้ใน Rework คุณจึงไม่จำเป็นต้องเหนื่อยเรียนรู้เองอีกต่อไป)

อยู่กินด้วยกัน แล้วเดี๋ยวดีเอง

How Google Works
กูเกิลมีอาหารฟรีคุณภาพภัตตาคารให้ตลอดเวลา

ออฟฟิศคือสิ่งที่กูเกิลให้ความสำคัญมาก เพราะกูเกิลเชื่อว่าไอเดียดีๆ เกิดจากคนเก่งๆ มาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน กูเกิลจึงออกแบบสถานที่ทำงานให้ทุกคนได้พูดคุยกันมากที่สุด

เซอร์เกย์ บริน หนึ่งในผู้ก่อตั้งกูเกิล เคยสั่งสถาปนิกที่ออกแบบออฟฟิศว่า “ห้ามมีแม้แต่คนเดียวที่อยู่ห่างอาหารเกิน 200 ฟุต” นั่นทำให้กูเกิลมีออฟฟิศสวย อาหารฟรี อาหารอร่อยอยู่ทุกหนแห่ง

เหตุผลไม่ใช่เพราะเขาอยากใช้อาหารล่อคนมาสมัครงาน แต่เพราะเขาต้องการให้พนักงานที่ปกติไม่ได้นั่งใกล้กันได้ลุกขึ้นมาพบปะพูดคุยกัน เมื่อคนเราใช้ชีวิตและทานอาหารร่วมกัน คนในบริษัทก็จะเหมือนครอบครัวที่ใกล้ชิดกัน มีสัมพันธ์ต่อกัน และคิดสิ่งดีๆ ออกมาได้

ยึดมั่นในจุดยืน ผ่อนปรนในวิธีการ

CEO ส่วนใหญ่คิดว่าพวกเขาต้องมี “แผนธุรกิจ” แต่นั่นเป็นความเข้าใจที่ผิด

แผนธุรกิจส่วนใหญ่จะพาคุณไปสู่ความล้มเหลว

นั่นเพราะการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จนั้น คุณต้องปรับตัวเข้ากับความท้าทายใหม่ๆ ตลอดเวลา (บริษัทที่ดีเยี่ยมคิดต่างจากบริษัทปกติอย่างไร ดูได้ใน Good To Great) โลกสมัยนี้เปลี่ยนเร็วมาก แผนการ 5 ปี 10 ปีไม่มีทางทำได้ตามแผน ถ้าจู่ๆ เทคโนโลยีเปลี่ยนหรือมีคู่แข่งใหม่เข้ามา คุณจะทำยังไง? คุณจะปรับตัวไม่ทันถ้ามัวแต่ยึด “แผนระยะยาว” ของคุณอยู่

ในการทำธุรกิจให้สำเร็จ คุณควรมีกรอบการทำธุรกิจกว้างๆ แต่แผนการต้องปรับเปลี่ยนได้เสมอ (ปีเตอร์ ธีล เสนอในหนังสือ Zero to One ว่าคุณควรหาทางผูกขาดธุรกิจ ไม่ให้ใครเข้ามาแข่งได้) จงหนักแน่นในจุดยืน แต่ผ่อนปรนในวิธีการ

  • ตั้งเป้าหมายให้โตเร็ว ยิ่งคุณใหญ่ก็ยิ่งได้เปรียบคู่แข่ง กูเกิลทุ่มสุดตัวให้โตเร็วที่สุด
  • อย่าทำตามคู่แข่งทุกอย่าง เพราะมันจะทำให้คุณติดกับความคิดเดิมๆ และเป็นผู้ตามไปตลอด ให้จับตามองคู่แข่ง แต่อย่าทำตามโดยไร้สติ
  • วิธีโตให้ไวที่สุดคือเป็น “แพลทฟอร์ม” นั่นก็คือเป็นเหมือนตลาดกลางให้คนอื่นเข้ามาติดต่อค้าขาย ส่วนคุณคอยเก็บค่านายหน้า ยิ่งคนเข้ามาในตลาดของคุณเยอะ คุณก็ยิ่งโต ทั้งที่คุณไม่ต้องลงทุนเอง

ทำสินค้า/บริการที่มีคุณภาพ แล้วสินค้า/บริการจะขายตัวมันเอง

How Google Works
สินค้าทุกวันนี้เหมือนกันไปหมด

เทคโนโลยีปัจจุบันทำให้เราทุกคนตั้งธุรกิจใหม่ได้ง่าย ด้วย 2 เหตุผล (คว้าโอกาสธุรกิจในโลกสมัยใหม่จากบทความ The End of Jobs )

  1. เราสร้างสินค้าใหม่ได้ง่ายมาก คนแค่ไม่กี่คนก็สร้างแอพหรือคิดค้นสินค้าต่างๆ มาขายได้แล้ว
  2. สื่อออนไลน์ทำให้เราเข้าถึงคนง่าย คุณสามารถเสนอสินค้าหรือบริการให้คนนับล้านดูได้ในเวลาอันสั้น … โดยคุณศึกษาวิธีทำการตลาดออนไลน์ขั้นเทพได้ใน 5 นาทีจากบทความ Growth Hacker Marketing

พอทุกอย่างง่ายไปหมด ก็กลายเป็นว่าคุณต้องแข่งขันกับคนอีกมหาศาลที่ตั้งธุรกิจใหม่ๆ ขึ้นทุกวัน หนทางเดียวที่คุณจะชนะคือ สร้างสินค้าหรือบริการที่เหนือชั้น เพราะต่อให้คุณทุ่มงบการตลาดแค่ไหน ถ้าสินค้าของคุณไม่ดีจริง ลูกค้าก็ไม่กลับมาอยู่ดี แต่ถ้าสินค้าของคุณดี คนจะบอกกันปากต่อปากจนคุณแทบไม่ต้องทำการตลาดเลย

กูเกิลเน้นการสร้าง search engine ที่ดีที่สุด และกลายเป็นเจ้าโลกได้ทั้งที่กูเกิลเป็นบริษัทหลังๆ ที่หันมาทำ search engine ด้วยซ้ำ ก่อนหน้ากูเกิลยังมี Yahoo และเว็บคล้ายกันอีกเป็นพันเว็บ แถมยังมี Microsoft ที่มีเงินทุนมากกว่ากูเกิลหลาย 1,000 เท่าในสมัยนั้น

สาเหตุที่ทุกวันนี้เราใช้แต่ search engine ของกูเกิล ก็เพราะเว็บ Google.com ให้บริการที่ดีที่สุด ใช้แล้วหาทุกอย่างเจอ เราทุกคนจึงหันมาใช้กูเกิลกันหมด ส่วน Bing.com ของไมโครซอฟต์ก็แทบไม่มีใครใช้ เพราะตัวสินค้า/บริการไม่ได้ดีจริง ต่อให้มีงบการตลาดเท่าไรคนก็ไม่ใช้

ตัดสินใจจากข้อมูลจริง อย่าหลอกตัวเอง

How Google Works
ข้อมูลบอกความจริงได้ดีกว่าลางสังหรณ์

บริษัทส่วนใหญ่ตัดสินใจเรื่องต่างๆ ด้วยอารมณ์ มีหัวหน้าตัดสินใจแล้วก็จบ หรือไม่งั้นก็เถียงกันด้วยความคิดเห็น “ฉันว่างั้น” “ผมว่างี้” ซึ่งมีแนวโน้มทำให้คุณตัดสินใจผิดง่ายมาก และยังทำให้การประชุมเถียงกันไม่จบเพราะทุกคนก็ต้องคิดว่าตัวเองถูกอยู่แล้ว

การทำธุรกิจต้องตัดสินใจด้วยข้อมูล ถ้ากูเกิลต้องตัดสินใจว่าจะออกแบบเว็บไซต์ยังไงให้คนชอบที่สุด เขาก็จะทดลองทำเว็บมา 2 แบบเลย แล้วเก็บข้อมูลมาดูกันว่าคนใช้เวลากับเว็บไหนนานกว่า เป็นต้น นั่นทำให้กูเกิลได้เว็บไซต์ที่ดีที่สุดโดยไม่ต้องมาเสียเวลาเถียงกัน

เรื่องนี้ทำให้ผมคิดถึง 7Eleven “เซเว่นอีเลเว่น” ที่เปิดมาแค่ 20 ปีแต่คนไทยเราคุ้นเคยเหมือนมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ แต่ก่อนประเทศเราจะมีเซเว่น เราก็เคยมีร้านโชวห่วยอยู่ก่อนแล้ว (ซึ่งล้มตายไปเพราะเซเว่นมาเปิด) ทำไมร้านโชวห่วยสู้เซเว่นไม่ได้? หลายคนคิดว่าเซเว่นมีทุนหนากว่า แต่สาเหตุจริงคือ “เซเว่นมีของที่เราอยากได้ แต่ร้านโชวห่วยไม่มี”

ที่เซเว่นรู้ว่าเราอยากได้อะไร เพราะเขาเอาข้อมูลยอดขายสินค้ามาดูกันเป็นตัวๆ ตัวไหนขายดีก็ขายต่อ ขายไม่ดีก็เอาออก นอกจากนี้ เขายังเอาข้อมูลสาขาอื่นๆ มาวิเคราะห์ร่วมกันได้ เซเว่นจึงรู้ว่าควรขายอะไร จะจัดการสต็อกสินค้ายังไง และสินค้าชิ้นไหนวางบนเชลฟ์ระดับสายตา ชิ้นไหนควรวางไว้ล่างสุด ผลก็คือ คนที่ขายของด้วยข้อมูลอย่างเซเว่นจึงแย่งลูกค้าจากร้านโชวห่วยจนเกือบหมด

หลายคนทำธุรกิจแต่ไม่ดูข้อมูล ใช้เซ้นส์ในการตัดสินใจเป็นหลัก ซึ่่งทำให้คุณตัดสินใจได้ไม่มีประสิทธิภาพ

คุณไม่จำเป็นต้องเป็นธุรกิจอินเทอร์เน็ตเหมือนกูเกิลก็ใช้ “ข้อมูล” ตัดสินใจได้ ไม่ว่าคุณจะเป็นเซเว่นอีเลเว่น เปิดร้านอาหาร ค้าขาย หรือทำอะไรก็ตาม ข้อมูลจะช่วยให้คุณตัดสินใจได้ถูกต้องและรวดเร็ว

ไอเดียดีๆ ไม่ได้เกิดจากคำสั่ง “จงคิดไอเดียดีๆ ซะสิ”

คุณน่าจะเคยเห็นบ้างแหละ เหล่า “ผู้บริหารที่เปี่ยมวิสัยทัศน์” ที่ออกมาประกาศว่าจะพาบริษัทเป็นผู้นำด้านนวัตกรรม จากนั้นก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น สักพักเรื่องก็เงียบไป

ที่กูเกิลมีพนักงานคนหนึ่งที่เคยเป็น “หัวหน้าฝ่ายนวัตกรรม” ของ Yahoo เขามีหน้าที่กระตุ้นนวัตกรรมในบริษัท Yahoo ด้วยการทำสไลด์สอนวิศวกรให้คิดไอเดียใหม่ เพื่อที่ว่าบริษัทจะได้มีนวัตกรรมบ้าง

คุณคงเดาได้ว่างานนี้มันสิ้นหวังแค่ไหน เขาจะบรรยาย “วิธีสร้างนวัตกรรม” มากแค่ไหนก็ไม่ได้ผล ขนาดลูกสาว 12 ขวบของเขาบอกว่าทำแบบนี้มันเสียเวลาคนที่มานั่งฟังเลย หัวหน้าฝ่ายนวัตกรรมคนนี้จึงลาออกจาก Yahoo แล้วมาทำงานที่กูเกิลแทน

แล้วจริงๆ คุณต้องทำยังไงถ้าอยากได้ไอเดียใหม่?

  1. ผู้นำต้องใจกว้าง นึกภาพว่าตัวคุณมีไอเดียใหม่ แต่ถ้าพลาดขึ้นมาหัวหน้าจะลงโทษทันที คุณจะยังทำไอเดียนั้นไหม? นวัตกรรมเกิดจากการลองผิดลองถูก ถ้าคุณต้องการสิ่งใหม่ ความล้มเหลวก็ต้องมากตาม ดังนั้นถ้าพนักงานทำผิดพลาดไม่ได้เลย บริษัทนั้นไม่มีทางมีนวัตกรรม
  2. ตั้งเป้าหมายใหญ่ กูเกิลมีคติว่า “ไปให้ถึงดวงจันทร์” นั่นก็คือคิดการใหญ่เหมือนกับจะไปดวงจันทร์ เวลาคุณจะทำอะไร ให้ตั้งเป้าหมายว่าดีกว่าเดิม 10 เท่า ซึ่งคุณไม่มีทาง “ทำเหมือนเดิมแต่ขยันขึ้น” แล้วจะได้ตามเป้าหมาย 10 เท่าอยู่แล้ว เป้าหมายใหญ่จึงบังคับให้คุณคิดนอกกรอบ
  3. สนับสนุนการลองผิดลองถูก กูเกิลมีหลัก 70/20/10 โดยแบ่งงบ 70% ให้งานสำคัญ งบ 20% ให้โปรเจกต์ที่ลองแล้วดีเลยส่งเสริมต่อ และงบ 10% ให้การทดลองสิ่งใหม่ นั่นทำให้ไอเดียบ้าบอก็ยังมีงบมาทดลองทำ จนเกิดสิ่งใหม่ๆ มากมาย … วิธีนี้ก็เหมือนกับในหนังสือ All-in Startup ที่สอนให้ลงเงินก้อนเล็กเพื่อพิสูจน์ไอเดีย พอชัวร์ว่าทำได้จริงแล้วค่อยลงสุดตัว
  4. อย่าควบคุม ยังจำ Smart Creatives ได้ไหมครับ? เมื่อคุณมีคนพวกนี้เยอะๆ ก็ต้องเปิดให้พวกเขาแสดงความสามารถ กูเกิลให้พนักงานใช้เวลา 20% คิดหรือทำอะไรก็ได้ จนเกิดเป็นไอเดียต่างๆ เช่น Gmail ที่คนทั่วโลกใช้กัน

อย่าสั่งหมด ปล่อยให้คนอื่นคิดบ้าง

How Google Works
อย่าสั่งไปหมดทุกเรื่อง

บริษัทส่วนใหญ่บริหารแบบ “เจ้านายสั่ง ลูกน้องทำตาม” ถ้าเจ้านายสั่งซ้ายหัน ลูกน้องก็ต้องซ้ายหัน ถ้าเจ้านายสั่งให้กระโดด ลูกน้องก็ต้องถาม “อยากได้สูงเท่าไหร่ครับ/คะ?”

แต่ถ้าคุณมีคนเก่งอยู่ในบริษัทแล้ว คุณไม่ควรไปสั่งพวกเขามาก เพราะพวกเขาจะคิดเองได้ดีกว่าคุณคิด (และคุณจะสบายกว่าด้วย)

เซอร์เกย์ บริน หนึ่งในผู้ก่อตั้งกูเกิล เคยเถียงกับหัวหน้าวิศวกรคนหนึ่งเรื่องขั้นตอนการทำงาน ทั้งสองหาข้อสรุปไม่ได้ แต่เซอร์เกย์ก็ไม่บังคับ เขาให้คนครึ่งหนึ่งทำตามเขา ส่วนอีกครึ่งทำตามหัวหน้าวิศวกร

แต่นั่นยังไม่จบ เมื่อทำงานไปสักพัก ทุกคนที่ทำตามเซอร์เกย์ก็หันไปทำตามหัวหน้าวิศวกรเพราะวิธีนั้นได้ผลดีกว่า กลายเป็นว่ากระทั่งเจ้าของบริษัทก็ไม่ไปบังคับให้คนอื่นทำตาม แต่ปล่อยให้คนอื่นๆ ออกไอเดียและตัดสินใจ นั่นทำให้กูเกิลมีไอเดียดีๆ มากกว่าการรอฟังเจ้าของบริษัทหรือ CEO เท่านั้น

สรุป

กุญแจความสำเร็จของกูเกิลคือการหา “คนเก่ง” ให้มาก ยิ่งมากยิ่งดี จากนั้นปล่อยให้คนเก่งได้คิดและตัดสินใจเรื่องต่างๆ เองได้ เพราะต่อให้คุณเก่งแค่ไหน อย่างมากคุณก็ทำงานได้เท่ากับคน 2 หรือ 3 คน ไม่มีทางสู้กับคนเก่ง 100 หรือ 1,000 คนที่ระดมความคิดมาแข่งกับคุณแน่นอน

การทำธุรกิจสมัยโบราณต้องมีระเบียบการบริหารจัดการที่เข้มแข็ง เพราะโลกสมัยก่อนเปลี่ยนแปลงช้า คุณแค่ต้องออกแบบ “ระบบที่ดีที่สุด” แล้วก็ทำไปเรื่อยๆ แต่ในโลกยุคใหม่ที่เทคโนโลยีเปลี่ยนเร็ว คู่แข่งพัฒนาตลอด คุณจะมานั่งวางระบบเหมือนสมัยก่อนมันไม่ทันแล้ว (เข้าใจโลกยุคใหม่ได้ใน The End of Jobs) สิ่งสำคัญคือการหาคนที่คิดเองได้มาทำงาน แล้วแบ่งอำนาจการตัดสินใจให้พวกเขาช่วยคุณคิด

หนังสือที่คุณอาจจะชอบ

เจาะลึกบทเรียนล้ำค่าที่ถูกเก็บเป็นความลับเฉพาะในหมู่นักธุรกิจและนักลงทุน ส่งตรงจากศูนย์กลางสตาร์ทอัพอันดับ 1 ของโลก

  • Airbnb บริษัทที่เคยขายอาหารเช้า แต่พลิกวิกฤติเป็นโอกาสจนปฏิวัติวงการโรงแรมได้
  • Dropbox บริการฝากไฟล์ออนไลน์ที่ล้มผลิตภัณฑ์ของสตีฟ จอบส์ มาแล้ว
  • Twitch แพลทฟอร์มสตรีมเกมที่เริ่มจากไอเดียเล็กๆ แต่ทะยานสู่อันดับ 1 ภายใน 2 ปี

บริษัทเหล่านี้เปลี่ยนจากธุรกิจเล็กๆ เป็นยักษ์ใหญ่สะเทือนวงการได้ในเวลาอันสั้น แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่า พวกเขาเป็นศิษย์ที่ร่ำเรียนมาจากสำนักเดียวกัน และคุณก็เรียนรู้วิธีคิดของพวกเขาได้ในหนังสือขโมยวิธีคิดสุดเจ๋ง จากสุดยอดโรงเรียนสอนสตาร์ทอัพ

เราหลายคนถูกสอนมาให้ “เก่งทางเดียว” แล้วเก่งด้านนั้นให้สุดทางไปเลย

วิธีคิดแบบนี้ใช้ได้ผลในสมัยก่อนที่คนเก่งมีน้อย แต่โลกเรากำลังเปลี่ยนไป สมัยนี้คนเก่งเกลื่อนจนแทบจะเดินชนกัน ต่อให้คุณทำอะไรได้ ก็จะมีอีกเป็นหมื่นคนและ AI ที่ทำได้เหมือนคุณ

หนังสือวิถีผู้ชนะฉบับคนเก่งแบบเป็ด จะสอนให้คุณเป็น “ซูเปอร์เป็ด” ที่เก่งรอบด้าน และสามารถนำทักษะที่หลากหลายมาใช้ ให้ก้าวหน้าในงาน ชีวิต และธุรกิจ

อย่าถูกหลอกด้วยหน้าปกสุดแสนน่ารัก หนังสือ 5 ทักษะการคิดฉบับญี่ปุ่นเต็มไปด้วยเนื้อหาอันเข้มข้น ซึ่งเขียนโดยโปรแกรมเมอร์ญี่ปุ่นชั้นเซียน

หนังสือเล่มนี้จะเปลี่ยน “ความคิด” ของคุณให้พัฒนาไปอีกขั้น คุณจะทำงานได้ดี มีวิธีคิดที่เป็นเหตุเป็นผล คิดนอกกรอบ และพัฒนาตัวเองได้เร็ว จนคนรอบข้างประหลาดใจ

บทความที่คุณอาจจะชอบมากกว่า How Google Works

นอกจากเล่ม How Google Works แล้ว บิงโกยังมีบทความและหนังสือดีๆ ที่คุณน่าจะสนใจอีก…

  • หนังสือ Think Like Zuck และ Becoming Facebook จะมาบอกแนวคิดของมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งและ CEO ของเฟซบุ๊ก ที่เริ่มจากไอเดียเล็กๆ ของเด็กมหาวิทยาลัยจนเป็นบริษัทระดับโลก
  • วิธีทำธุรกิจแบบปัจจุบันไม่เหมือนในอดีตแล้ว หนังสือ Rework จะมาสอนคุณใช้เทคโนโลยีมาลดต้นทุนและประสิทธิภาพการทำงาน เพราะสมัยนี้มีเงินแค่ไม่กี่พันบาทก็เริ่มธุรกิจของตัวเองได้!
  • กูเกิลมีวิธีคิดไอเดียแบบ “ดีขึ้น 10 เท่า” ซึ่งหนังสือ The Magic of Thinking Big จะบอกคุณหมดเปลือกว่าทำแบบนี้มันดียังไง และคุณจะเปลี่ยนตัวเองให้เป็นคน “คิดใหญ่” ได้ยังไง
  • ถ้าคุณอยากรู้ว่าบริษัทเทคโนโลยีใหญ่ๆ ในโลกเติบโตระดับ 100 เท่ากันภายใน 5 ปีได้อย่างไร คุณสามารถอุดหนุนหนังสือ “ขโมยวิธีคิดสุดเจ๋ง จากสุดยอดโรงเรียนสอนสตาร์ทอัพ” ของบิงโกได้เลย ข้างในเป็นเนื้อหาของโรงเรียนสอนธุรกิจที่โด่งดังที่สุดในโลก ซึ่งสร้างบริษัทใหญ่ๆ อย่าง Airbnb และ Dropbox ตั้งแต่เจ้าของยังอดมื้อกินมื้อ จนเป็นมหาเศรษฐียักษ์ใหญ่ของโลก
  • บิงโกมีหนังสือ คิดแบบมาร์ค ทำแบบเฟซบุ๊ก สำหรับคนที่อยากรู้วิธีทำธุรกิจของเฟซบุ๊กจากปากอดีตผู้บริหาร
  • ในโลกสมัยใหม่ คนธรรมดายิ่งมีโอกาสธุรกิจมากขึ้นเรื่อยๆ บางคนใช้เวลาสร้างตัวเพียง 3 ปีก็สามารถเกษียณไปใช้ชีวิตอย่างที่ตัวเองชอบได้ โดยหนังสือ ถ้าบอกกันก่อนเรียนจบ คงไม่ตกขบวนเศรษฐี จะสอนหลักการหาเงินและแนวทางทำธุรกิจแบบขั้นต่อขั้น

12 thoughts on “สรุปหนังสือ How Google Works วิธีทำงานที่ CEO กูเกิลอยากสอนคุณ

  1. Pingback: สรุปหนังสือ What Got You Here Won't Get You There: วางตัวแบบไหนได้ใจคน

  2. Pingback: สรุปหนังสือ Shoe Dog: ไนกี้ จากรองเท้าห้องแถวสู่ธุรกิจ 3 ล้านล้าน

  3. Pingback: สรุปหนังสือ Toyota Kata "วิถีโตโยต้า": หลักคิดการทำธุรกิจที่ไม่มีวันแพ้

  4. Pingback: สรุปหนังสือ Emotional Intelligence: รู้แค่นี้ก็ประสบความสำเร็จกว่าคน IQ 180

  5. Pingback: สรุปหนังสือ A Whole New Mind: ทักษะด้านไหน "ชนะ" ในโลกอนาคต

  6. Pingback: สรุปหนังสือ Grinding It Out: ความลับของอาณาจักรแมคโดนัลด์ จากปากผู้ก่อตั้ง

  7. Pingback: สรุปหนังสือ Everything Store: Amazon ร้านขายของออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

  8. Pingback: กฎ 10 ข้อของ Sam Walton เจ้าของวอลมาร์ท ซูเปอร์มาร์เก็ตที่ใหญ่ที่สุดในโลก

  9. Pingback: สรุปหนังสือ Sam Walton: กำเนิด Walmart เครือซูเปอร์มาร์เก็ตที่ใหญ่ที่สุดในโลก

  10. Pingback: สรุปหนังสือ Only the Paranoid Survive ถ้าอยากรอด จงระแวงเข้าไว้

  11. Pingback: สรุปหนังสือ Purple Cow อยากสำเร็จต้องเป็นวัวสีม่วง - สำนักพิมพ์บิงโก

  12. Pingback: โลกหลัง Covid ที่ไม่มีอเมริกา... แล้วไทยอยู่ไหน - สำนักพิมพ์บิงโก

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก